วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Tactschool ออกหนังสือดี ชื่อ คัดหุ้นทำกำไรจากงบการเงิน





การยกเลิกข้อจำกัดการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นสัญชาติต่างด้าวจากเดิมร้อยละ 49 เป็น โดยไม่มีข้อจำกัด





TR ยกเลิกขอจำกัดการถือหุ้นต่างชาติจากเดิม 49% เป็นโอนได้โดยไม่มีข้อจำกัด หวังดึง นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ทั่วโลก

 
สำนักข่าวหุ้นอินไซด์( 22 สิงหาคม 2561)--------นายปราโมท คานเดลวาล รองประธาน (ฝ่ายการเงินและพาณิชย์) บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) TR เปิดเผยว่า ขอแจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้ง ที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2561 เวลา 12.00-13.00 น. ณ สำนักงานใหญ่ ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังนี้
1. อนุมัติการยกเลิกข้อจำกัดสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นสัญชาติต่างด้าวจากเดิมร้อยละ 49 เป็นโดยไม่มีข้อจำกัดและการแก้ไขข้อบังคับของบริษัทฯ ข้อ 6 เพื่อให้สอดคล้องกับการยกเลิกข้อจำกัดการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นสัญชาติต่างด้าวข้อบังคับบริษัทข้อ 6 – ข้อบังคับปัจจุบัน
“หุ้นของบริษัทสามารถโอนได้โดยไม่มีข้อจำกัด เว้นแต่(1) การโอนหุ้นนัน้ ทำให้บริษัทเสียสิทธิและผลประโยชน์ที่บริษัทจะพึงได้รับตามกฎหมาย หรือ(2) การโอนหุ้นนัน้ เป็นเหตุให้บริษัทมีผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทยน้อยกว่าร้อยละ 51 หรือเป็นเป็นเหตุให้หุ้นที่ถือโดยผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยมีจำนวนมากกว่าร้อยละ 49 ของจำนวนหุ้นทัง้ หมด”ข้อบังคับบริษัทข้อ 6 – ข้อบังคับใหม่
“หุ้นของบริษัทสามารถโอนได้โดยไม่มีข้อจำกัด”
ด้วยการเปิดเสรีในกฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศและนโยบายของรัฐบาล และการเพิ่มผลประโยชน์สำหรับนักลงทุนต่างชาติในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้วยเงื่อนไขการจำกัดการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นสัญชาติต่างด้าวจำกัดอยู่ที่ร้อยละ 49 จะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจในตลาดโลก ซึ่งสร้างความสนใจให้แก่นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ทั่วโลก การยกเลิกข้อจำกัดการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นสัญชาติต่างด้าวดังกล่าวจะทำให้เกิดโอกาสที่เท่าเทียมกันแก่นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนในประเทศ และเป็นประโยชน์ที่หลากหลายต่อตลาดทุนให้กับบริษัทฯ เพื่อเป็นการสนับสนุนตามที่กล่าวข้างต้น จึงจำเป็นที่จะต้องแก้ไขข้อบังคับของบริษัทฯ ข้อ 6โดยให้ใช้ข้อความตามที่ระบุไว้แทนข้อความเดิม ดังที่นำเสนอข้างต้น นอกจากนี้ บริษัทฯ จะดำเนินการแก้ไขเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องในบัตรการส่งเสริมการลงทุนของบริษัทฯ ที่ได้รับจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และยื่นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขออนุมัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 (รวมทัง้ ที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม) และต้องได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ใบอนุญาต และ/หรือใบอนุญาตที่เกี่ยวข้อง(รวมถึงการได้รับการอนุมัติใบอนุญาตภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542)

2. กำหนดวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครัง้ ที่ 1/2561 ในวันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2561 เวลา 15.00 น. ณ ห้องพิมาน สยามฮอลล์ ชัน้ 29 โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล อะ ลักซ์ชูรี คอลเล็คชั่น โฮเทล แบงค็อก เลขที่ 61 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี
เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โดยกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครัง้ ที่ 1/2561(Record Date) ในวันที่ 5 กันยายน 2561
3. กำหนดวาระการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครัง้ ที่ 1/2561 เป็นดังนี้
วาระที่ 1 พิจารณารับรองรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2561
วาระที่ 2 พิจารณาอนุมัติการยกเลิกข้อจำกัดการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นสัญชาติต่างด้าวจากเดิมร้อยละ 49 เป็น
โดยไม่มีข้อจำกัด และการแก้ไขข้อบังคับของบริษัทฯ ข้อ 6 เพื่อให้สอดคล้องกับการยกเลิกข้อจำกัดการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นสัญชาติต่างด้าว

วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561

ทิศทางพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy)ของประเทศไทย



HIGHLIGHTS 

อนาคตพลังงานทางเลือกประเทศไทย กับโอกาสเปิดตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าสัญชาติไทย

4 MINS. READ
  • พลังงานที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่มาจากพลังงานฟอสซิลที่ใช้แล้วย่อมหมดไป อีกทั้งมีผลเสียที่สำคัญคือการก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้สิ่งแวดล้อมย่ำแย่ เป็นมลพิษ และเกิดภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • พลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทนจากธรรมชาติเข้ามาตอบโจทย์และแก้ปัญหาในจุดนี้ เพราะเป็นพลังงานสะอาดที่ได้จากแสงอาทิตย์ น้ำ และลม แต่ปัจจุบันการใช้ในประเทศไทยยังไม่แพร่หลาย เพราะธรรมชาติยังเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยาก และโครงสร้างขั้นพื้นฐานยังไม่อำนวยนัก
  • บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในผู้นำด้านพลังงานทดแทนของไทยที่โดดเด่นและถูกจับตาเป็นอย่างมากในเวลานี้ ก่อตั้งในปี 2549 ด้วยการนำน้ำมันปาล์มในประเทศไทยมาผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลที่ใช้กับเครื่องยนต์ได้ ปัจจุบันได้สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม และกำลังเดินหน้าผลิตแบตเตอรี่เพื่อเก็บพลังงานไฟฟ้า ผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า รวมถึงสร้างสถานีชาร์จประจุไฟฟ้า เพื่อให้ประเทศไทยมีพลังงานสะอาดใช้อย่างยั่งยืน
พลังงานที่เราใช้กันในชีวิตประจำวัน ทั้งไฟฟ้าที่ใช้ชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือหรือเปิดเครื่องปรับอากาศ น้ำมันที่ใช้เติมยวดยานพาหนะ ก๊าซหุงต้มตามครัวเรือน ทั้งหมดล้วนแล้วแต่มาจาก ‘พลังงานฟอสซิล’ เป็นหลัก

ที่เรียกว่าฟอสซิลเพราะแหล่งกำเนิดมาจากซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมสะสมกันมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ทับซ้อนกันเป็นชั้นๆ อยู่ตลอดเวลานับล้านปีจนแปรสภาพเป็นเชื้อเพลิงในที่สุด ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วย่อมหมดไป ไม่สามารถสะสมใหม่ได้ทัน อีกทั้งในการนำมาใช้ยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเป็นจำนวนมหาศาล

ปัญหาลูกโซ่ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากคาร์บอนไดออกไซด์หลายคนคงทราบกันอยู่แล้ว โดยเฉพาะวิกฤต ‘ภาวะโลกร้อน’ ที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และฝั่งผู้ผลิตในหลายๆ ประเทศทั่วโลกกำลังตื่นตัวจนต้องเร่งปรับแผนดำเนินธุรกิจกันยกใหญ่

แม้คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) จะเปิดเผยว่าผลวิจัยอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วง 3 ปีหลังสุดจะคงตัวมาตลอด ไม่ได้ปรับตัวขึ้นมากจากจำนวน 35.8 กิโลตันในปี 2016 แบบน่าตกใจ (เพิ่มขึ้นราว 0.3% จากปี 2015) แต่เหตุผลการชะลอตัวส่วนหนึ่งก็มาจากการหันไปพึ่งพา ‘พลังงานทดแทน’ นั่นเอง


ในกลุ่มของพลังงานทดแทนนั้น พลังงานที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลกเป็นอย่างมากรวมถึงประเทศไทยของเราคือ พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ซึ่งเป็นพลังงานที่ใช้แล้วไม่มีวันหมด สามารถหมุนเวียนและเกิดขึ้นใหม่ได้ ครอบคลุมตั้งแต่พลังงานจากแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) พลังงานลม หรือพลังงานน้ำ ฯลฯ ประโยชน์สำคัญประการต้นๆ นอกจากจะทำให้โลกสะอาดและทำให้พึ่งพาตนเองได้แล้วยังช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าได้อีกด้วย

ที่ประเทศอื่นๆ อย่างญี่ปุ่นหรือสหรัฐอเมริกา เราเริ่มได้เห็นการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานทางเลือกรูปแบบนี้มาแล้วสักระยะ โดยเฉพาะในญี่ปุ่นที่มีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าวิ่งกันทั่วเมือง ส่วนบ้านเรือนจำนวนไม่น้อยก็หันมาใช้พลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์แบบจริงๆ จังๆ

มองกลับมาที่ประเทศไทย ภาครัฐบาลของเราก็เริ่มปรับตัวกันแล้ว โดยประกาศไว้ในแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้าของประเทศว่าประเทศไทยจะเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงาน ลดการพึ่งพิงจากการนำเข้าพลังงานจากฟอสซิล โดยจะใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในสัดส่วน 25%

ถ้ามองไปยังการใช้พลังงานทดตามครัวเรือนอาจจะยังไม่ค่อยแพร่หลายสักเท่าไร ส่วนหนึ่งเป็นเพราะข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี สภาพแวดล้อม และดินฟ้าอากาศที่ยังควบคุมได้ยากอยู่ ประกอบกับโครงสร้างขั้นพื้นฐานภายในที่ยังไม่เอื้ออำนวย

ยิ่งพูดถึงรถยนต์พลังงานไฟฟ้ายิ่งแล้วใหญ่ เพราะราคาของรถ EV (Electric Vehicles) ในท้องตลาดบ้านเรายัง ‘จับต้องได้ยาก’ และไกลเกินเอื้อม ส่วนใหญ่เป็นรถจากยุโรป สหรัฐอเมริกา หรือญี่ปุ่น ที่ราคาไม่หนีห่างจากรถซูเปอร์คาร์สมรรถนะสูงสักเท่าไร


สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นอุปสรรคก้อนโตกีดขวางการ Go Green แบบ 100% ของประเทศไทย

วิธีที่จะทำให้เทคโนโลยีเข้าถึงผู้ใช้หมู่มาก เป็นมิตรกับผู้บริโภค และเข้าถึงตลาดกระแสหลักได้คือต้องทำให้มันมีราคา ‘ถูกลง’ และ ‘ง่ายขึ้น’ ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงพลังงานและรัฐบาลไทยก็กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการโครงการต่างๆ อยู่ ทั้งสนับสนุนการลดหย่อนค่าใช้จ่ายให้ผู้ประกอบการ รวมถึงการร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อติดสปีดให้พลังงานทดแทนเกิดขึ้นได้ในเร็ววัน ซึ่งถ้าพูดถึงบริษัทเอกชนที่ลงทุนจริงจังและเดินหน้าพัฒนาธุรกิจในกลุ่มพลังงานทดแทนอย่างเป็นรูปธรรม ชื่อของ ‘พลังงานบริสุทธ์’ หรือ Energy Absolute ภายใต้ชื่อย่อว่า EA คือชื่อแรกๆ ที่เรานึกถึง

3 Yr Price Performance (Adjusted Price) EA 
28/09/201520/06/201607/03/201723/11/201715/08/2018-100%0%100%200%300%
ถามว่าทำไมต้องเป็น EA ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะพวกเขาคือบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานสัญชาติไทยที่โดดเด่นเป็นอย่างมากในช่วงระยะหลังๆ หรือตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมานี้

บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งในปี 2549 หรือประมาณ 12 ปีที่แล้ว เริ่มต้นจากการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล ก่อนที่ในปี 2554 จะหันไปจับธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 8 เมกะวัตต์ที่ลพบุรีเพื่อขายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และต่อด้วยลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเพื่อผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ขนาดแห่งละ 90 เมกะวัตต์ 3 จังหวัดคือ นครสวรรค์ ลำปาง และพิษณุโลก รวม 270 เมกะวัตต์


3 ปีถัดมา EA ยังเดินหน้าขยายอาณาจักรพลังงานบริสุทธิ์อย่างต่อเนื่อง พวกเขาจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานลมจำนวน 8 แห่งในสงขลา นครศรีธรรมราช และชัยภูมิ ภายใต้ชื่อบริษัทย่อยที่หลากหลายแตกต่างกัน หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็ยังมีโปรเจกต์ล้ำสมัยอย่างการทำโรงงานผลิตแบตเตอรี่เพื่อกักเก็บพลังงานไฟฟ้าขนาดกำลังการผลิต 50 กิกะวัตต์ชั่วโมง ซึ่งถือเป็นรายใหญ่ระดับโลก

จนเมื่อปลายปีที่แล้วนี้เอง นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ได้ประกาศวิสัยทัศน์ใหม่จากการเล็งเห็นทิศทางการเติบโตของเทคโนโลยีของโลกด้วยการหันไปจับตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ ผ่านการประกาศโปรเจกต์สร้างสถานีชาร์จประจุพลังงานไฟฟ้า

ก่อนที่ทิศทางต่างๆ และแผนการดำเนินงานของบริษัทจะชัดเจนขึ้นในช่วงต้นปีที่ผ่านมานี้เอง เมื่อประกาศเปิดตัวโครงการ EA Anywhere ที่มุ่งสร้าง EV Charging Station ให้ได้ 1,000 แห่งทั่วประเทศไทยเพื่อสร้างระบบนิเวศรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในไทยให้สมบูรณ์ กล่าวได้ว่าทุกๆ 5 กิโลเมตร ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะสามารถพบสถานี EV Charging ของ EA Anywhere ได้


จากนั้นก็เกิดการขยับตัวครั้งใหญ่ เดือนมีนาคม 2561 ที่ผ่านมาในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 39 พวกเขายังเปิดตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้าสัญชาติไทยแบบ 100% ภายใต้แบรนด์ MINE Mobility อย่างน่าประทับใจ

กล่าวได้ว่าตั้งแต่ตัวถังรถ แบตเตอรี่รถยนต์ เครื่องยนต์ ฯลฯ ทุกอย่างเกิดขึ้นจากการออกแบบของทีมงานพลังงานบริสุทธิ์ล้วนๆ ทั้งยังใช้เทคโนโลยีจากบริษัท Amita ในไต้หวัน ที่พวกเขาได้เข้าไปลงทุนเพื่อสร้างแบตเตอรี่ที่ประสิทธิภาพสูงและปลอดภัย ไม่เกิดปัญหากรณีการลัดวงจร

ตลอดระยะเวลา 1 ทศวรรษของบริษัทพลังงานบริสุทธิ์พลิกโฉมไปพอสมควร เริ่มต้นจากการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจด้านไบโอดีเซล ซึ่งก็เป็นพลังงานหมุนเวียนรูปแบบหนึ่ง ขยับไปสู่การเป็นพลังงานทดแทนในกลุ่มพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์และลม ก่อนดีดตัวเองอีกครั้งไปเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าและรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเต็มตัว โดยมีเป้าหมายเดียวกันทั้งหมดคือ ‘Mission No Emission’ หรือภารกิจไร้มลพิษสู่โลกใบนี้

เป้าหมายแบบนี้อาจจะดูฟังเป็นเรื่องที่ยากเอาการอยู่เมื่อเทียบกับภาพรวมของบ้านเรือนเราในวันนี้ แต่ที่น่าชื่นชมคือมันจะมีส่วนช่วยให้โครงสร้างขั้นพื้นฐานภายในของประเทศไทยในด้านพลังงานทดแทนดีขึ้นและเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังลดมลพิษลงได้อย่างแน่นอน

ที่สำคัญเมื่อเกิดผู้ประกอบการเจ้าที่หนึ่งขึ้นมา ผู้ประกอบการหน้าใหม่ๆ ก็จะทยอยเข้ามาสู่อุตสาหกรรมนี้มากขึ้น ผลที่ตามมาคือก่อให้เกิดการแข่งขัน แล้วราคาของเทคโนโลยีก็จะถูกลง จับต้องได้ง่ายไปโดยปริยาย

เช่นนี้แล้ว อนาคตการ Go Green ของประเทศไทยก็อาจจะเกิดขึ้นได้เร็วกว่าที่คิด...https://thestandard.co/energy-absolute-go-green/

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561

วงจรเงินสด ฉบับง่ายฝุดๆๆๆๆๆ




โบราณว่าไว้ว่า....

เงินสดนั้นควรจะอยู่ในมือเราให้นานที่สุด

บริษัทก็เช่นกัน....

เงินควรจะปล่อยออกจากมือช้าๆ แต่รับเงินมาเร็วๆ


มีคนชอบพูดถึง Cash Cycle หรือวงจรเงินสดบ่อยๆ แล้วนักลงทุนก็จะคุยกันว่า "Cash Cycle ที่ดีมันต้องติดลบๆๆๆๆๆ"
แต่พอมามองถึงเรื่องนี้แล้วตามทฤษฎีนี่มันย๊ากยาก มีพูดถึง ICP RCP PCP และอะไรอีกมากมาย แต่ไม่เป็นไรเดี๋ยวจะอธิบายง่ายๆจากภาพด้านบน
ลองจินตนาการนะครับว่า ทุกๆครั้งที่มีการทำธุรกิจ
1. บริษัทจะมีรายรับ
2. บริษัทจะมีรายจ่าย

กรณีแรก : รับมาเร็ว จ่ายไปช้า

รับทันที รับเงินสด หรือรับภายในช่วงเวลาสั้นๆ อันนี้เป็นเรื่องที่ดีมากเพราะบริษัทจะไม่มีความเสี่ยงเรื่องการเก็บเงินไม่ได้ แถมยังได้เงินไปหมุนทำกิจการต่อได้อีกในระยะเวลาหนึ่งก่อนที่เขาจะนำเงินออกไปเป็นรายจ่าย การที่มีเงินสดอยู่ในมือของบริษัทก็สามารถนำไปหมุนสร้างผลกำไรได้ เช่น การลงทุนระยะสั้นต่างๆ หรือการนำวสภาพคล่องตรงนี้ไปใช้ประโยชน์ชั่วคราว อื่นๆได้ ซึ่งแนวทางนี้ทำให้บริษัทจำนวนมากอยากจะเข้ามาอยู่ในสถานะนี้เพราะจะได้เปรียบในการทำธุรกิจ แต่นั่นก็อยู่ที่อำนาจต่อรองในการทำธุรกิจและลักษณะธรรมชาติของกิจการด้วย

กรณีที่สอง : รับมาช้า จ่ายไปเร็ว

รับช้ามาก โดนลูกค้าขอเครดิตช่น 30 วัน 60 วัน แต่ Supplier นี่บอกว่าถ้าอยากจะค้าขายกับเขาต้องเอาเงินไปชำระเขาก่อน เงินสดจะอยู่กับบริษัทน้อยลงเพราะต้องมีการให้เครดิตไปก่อน ซึ่งมันไม่ได้ปประโยชน์อะไรกลับมานอกจากรอเงินสดชำระ ในขณะที่ธุรกิจเองก็ต้องดำเนินต่อไป อาจจะต้องใช้เงินสำรองสั่งผลิตสินค้าไปก่อน ซึ่งอาจจะมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ถ้าเงินสดไม่พอ ซึ่งจะทำให้บริษัทต้องหาสภาพคล่องเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการขอยืมเงินจากธนาคารมาหมุน การขายทรัพย์สินทิ้ง หรืออาจจะต้องขอเงินเพิ่มทุนจากบรรดาผู้ถือหุ้นมาหมุน ทำให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น หากลูกค้าเบี้ยวชำระเงินก็ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่

เมื่อเรารู้แล้วว่า วงจรเงินสด Cash Conversion Cycle (CCC) นั้น ถ้าธุรกิจที่มันมีกระแสเงินสดเยอะๆมันจะต้อง รับมาเร็วจ่ายไปช้า
มาดูในทฤษฎีบ้าง..... เขาบอกว่ามันจะมี 3 ตัวแปรคือ
1.  Inventory Conversion Period (ICP) - ช่วงเวลาขายสินค้า
2.  Receivable Conversion Period (RCP) - ช่วงเวลาได้รับเงิน
3.  Payable Conversion Period (PCP) - ช่วงเวลาที่จ่ายเงิน

ง่ายๆก็คือ ช่วงขาย (ICP) + ช่วงรับเงิน (RCP) มันควรจะได้เร็วกว่าช่วงจ่ายเงิน  (PCP)
ถ้าใช้เวลาขาย 2 วัน รับเงินใน 10 วัน และจ่ายหนี้ในอีก 30 วัน แปลว่า วงจรเงินสดเราคือ 2+10-30 = -18 วัน แปลว่ามีเวลาเอาเงินไปหมุน 18 วัน

กรณีที่บริษัทบางบริษัทมีข้อต่อรองเทพๆ มันก็ต้องเป็น "ผลิตแล้วขายได้เลย + รับเงินสดจากลูกค้า - เอาไปจ่ายเจ้าหนี้ชาติหน้า"

พอจะเข้าใจแล้วยังครับว่าทำไมบริษัทต่างๆถึงพยายามดึงเงินให้จ่ายช้าๆ ตราบที่ยังไม่ต้องจ่ายได้ และในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีพวกรายใหญ่มันเลยอยู่รอดได้เพราะมีอำนาจต่อรองกับรายย่อย รายย่อยก็จะขาดเงินเพราะเงินไม่เข้าซักที ขายของไปเป็นชาติแล้ว แบงค์ก็ไม่ปล่อยกู้เพิ่มสภาพคล่องให้ช่วงแย่ๆ แถมยังต้องมีเงินค่าใช้จ่ายกับพนักงานอีก มันเลยมีการปลดพนักงานบ้าง ลดเงินเดือนบ้างและทำอะไรหลายๆอย่างให้บริษัทอยู่รอดได้ และนี่ก็เป็นความสำคัญของเรื่องวงจรเงินสดนะครับ

by TarKawin,Jun 27 , 2014 3:45 AM
writer of Tarkawin  https://aommoney.com




Thai NVDR คืออะไร เป็นบริษัทที่มือใหม่อย่างผมและหลายคนสงสัย





Thai NVDR คืออะไร เป็นบริษัทที่มือใหม่อย่างผมและหลายคนสงสัย

จากที่ได้ฝึกสังเกต ผมมือใหม่เพิ่งหัดดูการลงทุนในหุ้นต่าง ๆ และฝึกดูทั้งงบการเงิน รายละเอียดต่าง ๆ ในหนังสือหลาย ๆ เล่ม
เขียนไว้นอกจากสังเกตงบการเงินแล้วให้สังเกตผู้บริหารว่าใครเป็นผู้บริหารอยู่ และสังเกตผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของแต่ละบริษัทว่ามีใครถืออยู่บ้าง
และผมได้สังเกตเจอผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของหลาย ๆ บริษัท ก็มาเจอ บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด เข้าไปถือหุ้นรายใหญ่ในหลาย ๆ บริษัท โดยเฉพาะหุ้นบริษัทชั้นนำของประเทศ เลยสงสัยว่า ไทยเอ็นวีดีอาร์ คือบริษัทอะไร และเก็บรายละเอียดมาให้ดูเผื่อหลายคนมีความสงสัยเหมือนกับผมว่ามันคืออะไร ทำไมเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในหลายตัวจัง





ที่มา http://www.settrade.com วันที่ 26 ก.ย.2559

ตรงไหนที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือผิดพลาดตรงไหนก็ขออภัยด้วยครับ และเพิ่มเติมได้นะครับ

Thai NVDR คือ บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด บริษัทประกอบธุรกิจโดยการออกใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (Non-Voting Depository Receipt :NVDR) เพื่อขายให้แก่ผู้ลงทุน   http://www.set.or.th/nvdr/th/about/about.html

จุดประสงค์คือ เพื่อกระตุ้นการลงทุนและเพิ่มสภาพคล่องให้ตลาดหลักทรัพย์และเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนชาวต่างประเทศ ที่สนใจลงทุนในบริษัทจดทะเบียน
สรุป คือ เป็นบริษัทที่ให้สิทธิ์ซื้อหลักทรัพย์ผ่าน ไทยเอ็นวีดีอาร์ อย่างต่างชาติที่อยากจะมาลงทุนซื้อหุ้นไทยก็สามารถซื้อผ่าน ไทยเอ็นวีดีอาร์ได้ แต่จะไม่มีสิทธิ์ออกเสียงใดๆในบริษัทที่ถือหุ้น หรือพูดง่าย ๆว่าไม่สามารถเข้าครอบงำบริษัทนั้น ๆได้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในลิ้งนี้
http://www.set.or.th/nvdr/th/about/about.html
วิธีการซื้อขายก็ติดต่อซื้อขายหุ้นผ่าน Thai NVDR หรือถ้าซื้อผ่านอินเตอร์เน็ต ก็คีย์ THAI-F


20 บริษัทที่ Thai NVDR เข้าไปถือหุ้น เรียงจากมากไปหาน้อย


ข้อดีของ Thai NVDR คือ สร้างสภาพคล่องให้กับตลาดหุ้นไทย และนักลงทุนต่างชาติสามารถเข้ามาถือหุ้นได้ และมีกฎหมายรัดกุมตรวจสอบได้ มีข้อจำกัดที่ระบุชัดเจน
เรามาดูความรัดกุมของการจัดซื้อหุ้นผ่าน Thai NVDR กันหน่อย  
อันนี้ผมเอาข้อมูลที่มีอยู่จากการถามตอบใน http://www.set.or.th/nvdr/th/faqs/faqs.html

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

สรุป คือถ้าเกิดผู้ลงทุนมีการลงทุนผ่าน Thai NVDR เพิ่มขึ้นหรือลดลงทุก ๆร้อยละ 5 ของที่ Thai NVDR เปิดขาย ต้องมีรายงานแจ้งให้กับ บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด และทาง บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จะแจ้งให้กับทาง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตรงนี้แหละที่ข้อมูลก็จะแสดงข้อมูลให้กับสาธารณะชนทราบเช็คได้ที่  Website: http://www.set.or.th/nvdr/th/info/report246-2_16.html
และผู้ลงทุนแต่ละรายสามารถถือครองหลักทรัพย์ Thai NVDR ได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของหลักทรัพย์ที่เปิดขายผ่าน Thai NVDR ทั้งหมด

สมมติ
นาย A ต้องการซื้อ AOT ผ่าน Thai NVDR จำนวนหนึ่ง โดยทั้งหมดคิดเป็น 5% ของจำนวนหลักทรัพย์ที่ถืออยู่
นาย A จะต้องทำรายงานแจ้งกับทาง บริษัทไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด ด้วยว่าซื้อหุ้นตัวนี้เป็นจำนวนเท่าไร  หลังจากนั้นทาง Thai NVDR ก็จะแจ้งต่อไปยังทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่านาย A ได้ทำการซื้อหุ้น AOT ผ่าน Thai NVDR เป็นจำนวนนั้นๆ และทางตลาดหลักทรัพย์ก็จะทำรายงานขึ้นแสดงต่อบนเว็บไซต์ของทาง บริษัทไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 
และถ้าเกิดนาย A มีหุ้นที่ถือครองผ่าน Thai NVDR ทั้งหมด รวมถึงคนในครอบครัวด้วย นาย A จะสามารถถือครองหลักทรัพย์ได้ไม่เกิน 25% ของจำนวนทั้งหมดที่ทาง Thai NVDR เปิดขาย ถ้าเกิดมีการถือเกินทาง บริษัทไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จะบังคับซื้อคืนทันที

จากตัวอย่างข้างบน เราจะเห็นได้เลยว่า การซื้อขายหุ้นเป็นจำนวนมาก ผ่าน บริษัทไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด นั้นจะมีการแจ้งให้ สาธารณะชนทราบ โดยสามารถตรวจสอบได้ทางเว็บไซต์ของ ตลาดหลักทรัพย์ได้เอง

พอเรามาดูกฎกติกาแล้ว ถือว่ามีความรัดกุมในการถือครองหลักทรัพย์อยู่พอสมควร และมีการแจ้งการถือครองอยู่ทุกร้อยละ 5 ก็แสดงว่าบุคคลทั่วไปสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ และไม่มีการถือหุ้นหรือเข้าไปครอบงำบริษัทได้
จากที่เข้าหาข้อมูล อ่านกระทู้ รวมไปถึงข่าวหลาย ๆ ที่ มีหลายคนคิดว่า บริษัทไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด เป็นนอมินีต่างๆ โดยหากดูข้อมูลกันดีๆ กลุ่มที่ บริษัทไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด ไปถือหุ้น ส่วนมาก เป็นหุ้นกลุ่มบลูชิพ ที่มีความมั่นคงและมีมูลค่าน่าลงทุน สะท้อนเศรษฐกิจของประเทศ และหากลดอคติลงบ้าง จะเห็นได้ว่า การถือหุ้นพวกนี้ถือเป็นเรื่องปกติ และ คล้ายกันในทุกบริษัทด้วยซ้ำ และเป็นผลดีที่สามารถระดมทุนได้สะดวกขึ้น และหากบอกว่ามีกลุ่มทุนนั่นนี่อยู่เบื้องหลัง คงลำบากมากในตลาดหลักทรัพย์ เพราะมันคือการลงทุน ดังนั้นหากไม่มีกลุ่มทุน บริษัทเหล่านี้จะอยู่รอดได้อย่างไร

หุ้นกลุ่มบูลชิพที่บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์เข้าไปถือหุ้น