Connecting the dots เชื่อมจุด เชื่อมโอกาส สร้างภาพให้ชัดกับชีวิตคุณ
ผมเคยได้ยินคำว่า Connecting the Dots มานานแล้ว เคยได้ยินพี่โจ้ ธนา จาก dtac เคยพูดเรื่องนี้เช่นกัน แต่ไม่เคยเข้าใจเลยว่ามันคืออะไร วันนี้ผมมาประชุมที่ญี่ปุ่น ก็มีวิทยากรพูดถึงเรื่องนี้ ผมเลย Google หาข้อมูลทันที เพื่อทำให้ตัวเองเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น
จริงๆ Connecting the Dots คือ การลากเส้นไปตามจุดต่างๆ แล้วสร้างเป็นภาพขึ้นมา เหมือนกับตอนเด็กๆ ที่มีแบบวาดภาพ โดยลากจาก จุดที่ 1 ไปถึงจุดสุดท้าย และมันก็กลายเป็นภาพขึ้นมา พอจำกันได้นะ แต่ในมุมของ Connecting the Dots ในเชิงนิยามนี้ หมายถึง “จุด” หลายๆ จุด ที่เปรียบได้กับประสบการณ์ในอดีตของคุณ แล้วนำคุณนำประสบการณ์ในอดีต มาสร้างเป็นเรื่องราว เป็นภาพให้เห็นกับชีวิตของคุณเอง ยิ่งมีจุดมาก ภาพที่เกิดขึ้นในหัวคุณก็จะมีมาก มีความหลากหลาย นั้นหมายถึงคุณจะมีมุมมองที่กว้างกว่า การที่มี “จุด” น้อยในหัวคุณ
มีคำพูดของ Steve Jobs ที่น่าประทับใจเป็นสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ ให้เดินไปข้างหน้าตราบใดที่เรายังมีลมหายใจ เขาบอกไว้ว่า.. “Connecting the Dot” ..ทุกสิ่งที่เราเรียนรู้และลงมือทำในวันนี้ แม้ไม่ก่อให้เกิดผลทันที แต่วันหนึ่งข้างหน้าจะเป็นประโยชน์ เราสามารถเรียนรู้จากอดีต แต่เราไม่สามารถคาดเดาอนาคตได้ ทุกสิ่งที่เราตั้งใจเรียนรู้และทำในวันนี้จะเป็นประโยชน์ในวันข้างหน้า…” ลองไปฟังสุนทราพจน์ ของ Steve Jobs @Standford University
ชีวิตจึงเป็นการเชื่อมต่อจุดให้เป็นภาพ จุดคือการเรียนรู้ด้วยสมองซ้าย แล้วเก็บจุดเหล่านั้นไว้ใน Memory file ดังนั้นการได้เปิดโลก เปิดหูเปิดตา รับรู้อะไรใหม่ๆ ตลอดเวลา จึงเป็นการเพิ่มจุดให้กับตัวเรา เมื่อเวลาผ่านไปจุดเหล่านั้นจะมีเต็มไปหมดในสมองของเรา เมื่อถึงคราวที่จะหยิบนํามาใช้ อย่าเอามาใช้แบบเป็นจุดๆ ต้องเอาจุดเหล่านั้นมาร้อยเรียงวางลงบนผืนผ้า ถ้าวางเรียงจุดได้เก่ง ก็จะรู้ว่าจะต้องเรียงจุดไหนก่อนและจุดไหนอยู่หลัง “แต่หากคุณประสบการณ์น้อย จุดของคุณก็จะน้อยด้วย” สุดท้ายใช้สมองขวาเชื่อมโยงจุดเหล่านั้นให้เป็นภาพ ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ ภูเขา หรือภาพเครื่องบิน
จุดต่างๆที่คุณเริ่มสะสมสร้างขึ้นมาเป็นประสบการณ์
. ยิ่งจุดเยอะเท่าไร เราก็มีความสามารถในการสร้างภาพ สร้างเรื่องราว สร้างอะไรใหม่ๆ หรือแก้ปัญหาอะไรต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น เพราะเรามีจุดหรือมีประสบการณ์มาก
. อย่าไปคาดหวังว่า จุดที่คุณสร้าง ณ.วันนั้นมันจะส่งผลออกมาทันที อย่าลืมมันเป็นเพียงแค่จุด แต่หากยิ่งคุณมีจุดเยอะ หรือมีประสบการณ์เยอะ หากคุณมีปัญหา หรือวางแผนอะไร คุณจะสามารถดึง “จุด” ต่างๆ ออกมาได้ใช้ได้ดีกว่า คนที่มีจุดน้อยกว่า
คุณที่มี “จุด” น้อยมักมีลักษณะแบบนี้
- ชีวิตซ้ำๆ ทุกๆ วัน ไม่มีอะไรใหม่ๆ
- ไม่ค่อยอ่านข่าว รับรู้ข่าวสารอะไรใหม่ๆ
- ไม่หาโอกาสไปเที่ยว ไปงานสัมมนา งานกิจกรรมต่างๆ
- ไม่ค่อยมีเพื่อนใหม่ๆ
- มักมีความคิดในเชิงลบ (Negative Attitude) มองอะไรในแง่ร้ายเสมอ
หากคุณเป็นคนในกลุ่มนี้ “จุด” ของคุณก็จะเกิดใหม่น้อยมาก เช่นเดียวกันประสบการณ์ของคุณก็จะน้อยเช่นเดียวกัน “ทำให้โลกทัศน์ มุมมอง การใช้ชีวิต และการแก้ปัญหา แคบและน้อยตามไปด้วย”
เทคนิคการเติม “จุด” ให้กับชีวิตของคุณ
- หาอะไรใหม่ๆ ทำในชีวิตแต่ละวัน “ลองทำสิ่งเดิมๆ ในมุมมอง และวิธีใหม่ๆ” คุณอาจจะได้ผลลัพย์ใหม่ ที่น่าอัศจรรย์ก็ได้
- ไปร่วมงาน กิจกรรมต่างๆ บ้างเช่น สัมมนา การพบปะนัดพบ ออกไปเที่ยว พบเพื่อนใหม่ๆ ในสังคม อุตสาหกรรมเดียวกับคุณ
- เปิดหูเปิดตา อ่านข่าว รับรู้อะไรใหม่ๆ ตลอดเวลา ตอนนี้ข้อมูลอยู่ปลายนิ้วคุณแล้ว (ลองดูวิธีนี้)
- “คิดบวก” จะทำให้คุณมองทุกอย่างรอบตัวมีคุณค่าเสมอ
- การทำอะไรผิดพลาด ไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่มันคือการเรียนรู้อันยิ่งใหญ่ รับรู้ โอบรับ และจดจำมันเอาไว้ ไปใช้ในครั้งหน้า
- สร้างและเปิดโอกาสใหัตัวเอง
ลองมาเริ่มเติม “จุด” ในชีวิตคุณให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นทุนเอาไว้ในอนาคตของคุณ และมันจะดีมากๆ หากคุณสามารถ เขียน เล่าเรื่องราว “จุด” ของคุณลงไปในโลกออนไลน์ เช่นการเขียน blog ของตัวเอง ผมว่า “จุด” ที่คุณสร้างขึ้นมา มันนอกจะเชื่อมต่อภายในตัวคุณเองแล้ว มันยังจะสามารถ สร้างความรู้ และสร้าง “จุด” ให้กับคนอื่นๆ ได้อีกด้วย อย่างที่ผมเขียนบทความนี้ให้คุณอ่าน ผมเองก็สร้าง “จุด” ใหม่ขึ้นมาให้ตัวผม และเช่นเดียวกัน ผมก็สร้าง “จุด” ใหม่ให้ก้บคุณได้เช่นกันครับ ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับเราแล้วล่ะครับ ว่าเราจะ “เชื่อมต่อจุดที่เรามีอยู่วันนี้ ไปกับจุดอื่นๆ ในอดีตหรืออนาคตอย่างไร”
Reference
- หลังจากเขียนบทความนี้เสร็จผมเพิ่งพบว่ามันมีหนังสือชื่อ Connect the Dots ด้วย โดย Rashmi Bansal ลองหาอ่านดูครับ (แต่ไม่รู้ตีความเหมือนผมตีเปล่านะ)
- ขอบคุณ Pawoot.wordpress.com
- http://www.blacksheep.co.th/article/connecting-dots/
- http://www.iurban.in.th/inspiration/steve-jobs-connecting-the-dot/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น