เปลี่ยนวิกฤต…ให้เป็นโอกาส…คนที่จะรวยจะต้องคิดเสมอว่า วิกฤตของคนทั่วไป มันอาจจะคือโอกาสของเราก็ได้ เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่เจอวิกฤต เราต้องมานั่งคิดว่า ในวิกฤตินั้น มีโอกาสอะไรให้เราบ้าง ถ้าคุณหาเจอความรวยก็จะวิ่งมาหาคุณ…
วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556
สามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนา CLV
สามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนา CLV
วัชรินทร์
ยงศิริ
นักวิจัยประจำสถาบันเอเชียศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คำนำ
ในปัจจุบันมีการกล่าวถึงการรวมกลุ่มขนาดเล็กของประเทศเพื่อนบ้านของไทยโดยเฉพาะในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงกันมากขึ้น
ประกอบกับในระยะ 2-3 ปีมานี้ ไทยเกิดความขัดแย้งทางพรมแดนด้านปราสาทพระวิหารกับกัมพูชา
จึงทำให้กัมพูชาได้รับความเห็นใจจากลาวและเวียดนามมากยิ่งขึ้น ดังนั้น
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้
ในสายตาของประเทศภายนอกจึงดูเหมือนว่าไทยถูกโดดเดี่ยวมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงใคร่ขอเสนอบทความนี้เพื่อทำความเข้าใจต่อท่านผู้อ่านที่สนใจติดตามสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ทราบข้อเท็จจริงว่า
กัมพูชา ลาว และเวียดนาม มีจุดประสงค์การรวมตัวในระดับอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงเพื่ออะไร
และไทยยังมีโอกาสสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศนี้ได้หรือไม่
ที่มาและความหมาย
สามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนา CLV หรือสามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนากัมพูชา-ลาว-เวียดนาม
(Cambodia-Laos-Vietnam Development Triangle Zone) เป็นความร่วมมือของกัมพูชา
ลาว และเวียดนาม เพื่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
มีที่มาจากแนวคิดริเริ่มของสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
เมื่อปี 2542 อันเนื่องมาจาก การเข้าเป็นสมาชิกองค์กรอาเซียนของเวียดนาม (ปี 2538)
ลาว (ปี 2540) และกัมพูชา (ปี 2542) ตามลำดับ
ภายหลังการล่มสลายของระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมในปี 2532 ในฐานะสมาชิกอาเซียนใหม่
ทั้งสามประเทศนี้มีสถานะทางเศรษฐกิจยังเหลื่อมล้ำด้อยกว่ากลุ่มสมาชิกอาเซียนเก่า
จึงทำให้กัมพูชา ลาว เวียดนาม
ต้องเกาะกลุ่มรวมกันในการปรับตัวเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนและคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
เหตุผลที่สามประเทศรวมตัวเป็นกลุ่มย่อย
CLV ในองค์กรระดับภูมิภาคอาเซียน ซึ่งตั้งข้อสังเกตได้ว่าเป็นเรื่องไม่ยาก
เพราะกัมพูชา ลาว และเวียดนาม มีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ร่วมกันมาได้ช่วยให้เกิดความไว้วางใจกันที่จะร่วมมือกันอีกครั้ง
เริ่มจากกัมพูชา ลาว และเวียดนาม ต่างเป็นอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศสมาด้วยกัน
และร่วมกันก่อตั้งขบวนการพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนขึ้นมาทำการต่อสู้เพื่อให้ได้
เอกราชจากฝรั่งเศส ต่อมาในยุคสงครามอุดมการณ์ ทั้งสามประเทศปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ได้รวมตัวกันเป็นสหพันธ์อินโดจีน ซึ่งมีอดีตสหภาพโซเวียตและจีนเป็นผู้นำค่ายโลกสังคมนิยม ทำสงครามต่อสู้กับค่ายโลกเสรี มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ พื้นที่ของสามประเทศ CLV จึงกลายเป็นสมรภูมิสงครามตัวแทน (Proxy War) ระหว่างสหพันธ์อินโดจีนฝ่ายหนึ่งกับอาเซียน (เก่า) อีกฝ่ายหนึ่ง
เอกราชจากฝรั่งเศส ต่อมาในยุคสงครามอุดมการณ์ ทั้งสามประเทศปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ได้รวมตัวกันเป็นสหพันธ์อินโดจีน ซึ่งมีอดีตสหภาพโซเวียตและจีนเป็นผู้นำค่ายโลกสังคมนิยม ทำสงครามต่อสู้กับค่ายโลกเสรี มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ พื้นที่ของสามประเทศ CLV จึงกลายเป็นสมรภูมิสงครามตัวแทน (Proxy War) ระหว่างสหพันธ์อินโดจีนฝ่ายหนึ่งกับอาเซียน (เก่า) อีกฝ่ายหนึ่ง
ต่อมาในปี 2547 ทั้งสามประเทศ CLV ได้เห็นชอบต่อแผนแม่บทในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ซึ่งประกอบด้วย การอำนวยความสะดวกด้านการค้า การท่องเที่ยว การรักษาความมั่นคง พัฒนาสาธารณสุข พัฒนาการศึกษา พัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน พัฒนาพลังงาน และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ โดยแผนพัฒนาสามเหลี่ยมนี้มีขอบเขตครอบคลุมพื้นที่ 13 จังหวัดชายแดนของสามประเทศ ได้แก่
ซึ่งประกอบด้วย การอำนวยความสะดวกด้านการค้า การท่องเที่ยว การรักษาความมั่นคง พัฒนาสาธารณสุข พัฒนาการศึกษา พัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน พัฒนาพลังงาน และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ โดยแผนพัฒนาสามเหลี่ยมนี้มีขอบเขตครอบคลุมพื้นที่ 13 จังหวัดชายแดนของสามประเทศ ได้แก่
ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา
มีจังหวัดกระแจ๊ะ จังหวัดสตึงแตรง จังหวัดรัตนคีรี และจังหวัดมณฑลคีรี
ในเขตภาคใต้ของลาว มีแขวงอัตตะปือ
แขวงสาละวัน แขวงเซกอง และแขวงจำปาสัก
ในเขตที่ราบสูงตอนกลางของเวียดนาม
มีจังหวัดคนตุม จังหวัดยาลาย จังหวัดดักหลัก จังหวัด
ดักโนง และจังหวัดเดี่ยนเบียน
ดักโนง และจังหวัดเดี่ยนเบียน
เหตุผลในการจัดตั้งสามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนา
เหตุผลด้านเศรษฐกิจ
เบื้องหลังแรงผลักดันที่ก่อตั้งสามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนา คือ
การยอมรับว่าความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคทำให้สามารถบรรลุผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่และเป็นจริงได้มากกว่าการกระทำโดยลำพังประเทศใดประเทศหนึ่งเพียงประเทศเดียว ดังนั้น สามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนา CLV จะทำให้กัมพูชา
ลาว และเวียดนาม สามารถเอาชนะปัญหาความขาดแคลนด้านแรงงาน ด้านเทคโนโลยี
ด้านทรัพยากร ด้านที่ดิน และด้านสาธารณูปโภคได้
โดยสามารถเข้าถึงต้นทุนการผลิตได้ง่ายขึ้น และสามารถหาได้ภายในอนุภูมิภาค นั่นหมายถึง
สามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนาจะทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เพื่อจุดประสงค์พัฒนาพื้นที่ชายขอบของประเทศ CLV ซึ่งจังหวัดเหล่านี้ล้วนอยู่ในเขตแดนที่ด้อยพัฒนาของแต่ละประเทศให้เกิดความเจริญขึ้นมา
เหตุผลด้านการเมือง
สามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนาเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกันในการสร้างสันติภาพและเสถียรภาพของอนุภูมิภาคให้เข้มแข็ง
เพราะการใช้ประโยชน์จากความร่วมมือกันไม่เพียงแต่มีในระดับชาติที่ทั้งสามประเทศ CLV พยายามร่วมมือให้เกิดสามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนาเป็นจริงขึ้นมา
แต่ยังทำให้รัฐบาลส่วนท้องถิ่นของแต่ละประเทศ CLV ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศอย่างเป็นทางการมากขึ้นอีกด้วย
โดยการสร้างความเชื่อมโยงให้เกิดการพึ่งพาอาศัยกันของเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นและเศรษฐกิจระดับชาติให้มากขึ้น
ในทางตรงข้ามหากรัฐบาลกลางของประเทศ CLV ไปบีบบังคับให้รัฐบาลส่วนท้องถิ่นกระทำการใดๆ
ย่อมนำไปสู่ความขัดแย้ง และเกิดผลกระทบตามมาคือเกิดความแตกแยกในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ขณะที่ความร่วมมือจะทำให้เกิดความมั่นคงภายในประเทศของ
CLV เพิ่มมากขึ้น
เพราะเหตุว่าการพัฒนาเศรษฐกิจได้ครอบคลุมพื้นที่ตามแนวพรมแดนของสามประเทศ CLV
ซึ่งบริเวณชายขอบส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยของชนกลุ่มน้อย
เดิมทีแต่ละประเทศไม่มีแผนยุทธศาสตร์พัฒนาแห่งชาติต่อบริเวณพื้นที่ชายแดน นอกจากนี้บริเวณตะเข็บชายแดนยังไม่มีการลงทุนจากต่างประเทศ
ดังนั้น การร่วมมือกันพัฒนาพื้นที่สามเหลี่ยมชายแดน CLV จะก่อให้เกิดความมั่งคั่งขึ้นต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ตามบริเวณชายแดน
อันเนื่องมาจากผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจการค้าชายแดน
เกิดการติดต่อค้าขายกันระหว่างประชาชนในบริเวณสามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนา
และการลงทุนก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายทรัพยากรทางเศรษฐกิจเข้ามาลงทุนในเขตสามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนาแห่งนี้
เมื่อประชาชนตามตะเข็บแนวชายแดนมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้นแล้ว
จึงส่งผลให้ความมั่นคงและสันติภาพทางการเมืองเกิดตามมา
เหตุผลด้านสังคม สำหรับเหตุผลด้านสังคมของการก่อตั้งสามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนามีความต่อเนื่องจากเหตุผลด้านเศรษฐกิจและการเมือง
คือ การพัฒนาเศรษฐกิจในเขตพื้นที่สามเหลี่ยมจะส่งผลโดยตรงต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น
อาทิ ปรับปรุงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นทั้งด้านการศึกษา
การบริการสาธารณสุข และการคุ้มครองความปลอดภัยในสังคม โดยเฉพาะสตรีและเด็กที่อาศัยอยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนา รัฐบาลประเทศ CLV ได้กำหนดนโยบายสร้างความมั่นใจต่อการปรับปรุงชีวิตและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
การบริการสาธารณสุข และการคุ้มครองความปลอดภัยในสังคม โดยเฉพาะสตรีและเด็กที่อาศัยอยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนา รัฐบาลประเทศ CLV ได้กำหนดนโยบายสร้างความมั่นใจต่อการปรับปรุงชีวิตและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
นอกจากนี้รัฐบาลประเทศ CLV ยังส่งเสริมความร่วมมือในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ
อาทิ การค้ามนุษย์ข้ามแดน การค้ายาเสพติดข้ามประเทศ และการลักลอบค้าสินค้าเถื่อน
วัตถุประสงค์พัฒนาสามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนา
มีวัตถุประสงค์พัฒนาเศรษฐกิจด้านต่าง
ๆ ดังนี้
ด้านการเชื่อมโยงเส้นทางถนน
ในสามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนาโดยการสร้างถนนในประเทศ CLV
ให้สามารถเชื่อมโยงติดต่อกัน ดังเช่นตัวอย่าง รัฐบาลกัมพูชาสร้างถนนหมายเลข 7
เชื่อมโยงกัมพูชากับลาว จากจังหวัดกระแจ๊ะไปจังหวัดสตึงแตรงถึงชายแดนกัมพูชา-ลาว
ไปเชื่อมต่อกับถนนหมายเลข 13 ของลาวในแขวงจำปาสัก และถนนอีกสายหนึ่งคือ ถนนหมายเลข
78 เชื่อมจากบ้านหลวง-โอยาดา ในจังหวัดมณฑลคีรี ไปจังหวัดยาลายของเวียดนาม
ส่วนในลาวถนนหมายเลข 18B ในแขวงอัตตะปือไปยังเวียดนาม
ถนนสายต่าง ๆ
เหล่านี้จะสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับบริเวณสามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนา
เมื่อมีถนนเชื่อมโยงเข้าหากันจะช่วยอำนวยความสะดวกด้านการค้าชายแดน การขนส่งสินค้า
และการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างสามประเทศ CLV
ซึ่งจะส่งผลให้ทั้งสามประเทศสามารถพัฒนาเศรษฐกิจบริเวณสามเหลี่ยมไปได้อย่างรวดเร็ว
ด้านพลังงาน
มีการศึกษาความเป็นไปได้ในโครงการก่อสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า
จากพลังงานน้ำในแม่น้ำเซซาน (Sesan River ) ในกัมพูชา
และจะพัฒนาต่อไปในการเชื่อมโยงสายส่งกระแสไฟฟ้า
และการส่งเสริมการค้าพลังงานไฟฟ้าในสามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนา
สำหรับการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตการเกษตร และการสำรวจเหมืองแร่ในบริเวณสามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนา
ด้านการท่องเที่ยวและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เนื่องจากบริเวณสามเหลี่ยม CLV มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอยู่สูง
เพราะมีธรรมชาติป่าเขา น้ำตก แม่น้ำ
สัตว์ป่าและพันธุ์พืชประจำถิ่นเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่ง ดังนั้น
เพื่อใช้ศักยภาพที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ทั้งสามประเทศ CLV ควรจัดหาสาธารณูปโภค เช่น ถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำประปา
เพื่อสร้างแรงดึงดูดแก่นักลงทุนให้เข้ามาลงทุนด้านการท่องเที่ยวและดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนบริเวณสามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนานี้
ขณะเดียวกันควรจะต้องมีการอนุรักษ์ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว
โดยปกป้องคุ้มครองป่าดึกดำบรรพ์
พรรณไม้และสัตว์ประจำถิ่นของสามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนาไม่ให้สูญหายไป
ด้านการเกษตรและการค้า
หลังจากก่อตั้งสามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนาขึ้นมา
ได้มีบริษัทของเวียดนามเข้ามาลงทุนปลูกยางพาราในโอยาดา จังหวัดมณฑลคีรี
เพื่อเป็นสินค้าส่งออกยางพาราไปยังจีน (ซึ่งขยายตัวอุตสาหกรรมรถยนต์)
ความร่วมมือในการลงทุนเกษตรนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเวียดนามและกัมพูชา โดยเวียดนามเข้ามาขอสัมปทานพื้นที่ปลูกยางเป็นการขยายการผลิต
(ซึ่งที่ดินในเวียดนามมีไม่พอเพียงกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น)
ส่วนกัมพูชาจะได้ประโยชน์จากการส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
การแบ่งปันพันธุ์ยางใหม่
ประการสำคัญที่สุดเกิดการจ้างงานคนกัมพูชาให้เกิดรายได้เลี้ยงครอบครัว
ซึ่งจะมีผลช่วยลดปัญหาความยากจนของประชาชนใน CLV
การสร้างตลาดค้าชายแดนที่โอยาดา
เป็นการช่วยขยายและเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนของกัมพูชาและเวียดนาม
ซึ่งเป็นโครงการสำคัญในอันดับต้น ๆ
ของนโยบายรัฐบาลกัมพูชาและมีส่วนช่วยส่งเสริมอาชีพเพื่อลดปัญหาความยากจน
ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในสามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนา
สิ่งที่จะใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือ การศึกษา และการสาธารณสุข
เพราะเป็นตัวบ่งชี้ในการลดปัญหาความยากจนของประชาชนในบริเวณสามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนา
ดังตัวอย่าง
ความร่วมมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างกัมพูชากับเวียดนาม
รัฐบาลเวียดนามได้สร้างหอพักนักศึกษาให้แก่นักศึกษากัมพูชาที่มหาวิทยาลัย Tay Nguyen และสร้างโรงเรียนระดับอาชีวศึกษาในจังหวัดรัตนคีรีและจังหวัดมณฑลคีรี
โดยเป็นเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า
จากวัตถุประสงค์การพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล
CLV ที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาความยากจนให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายขอบซึ่งไม่เคยอยู่ในแผนพัฒนาแห่งชาติได้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น
รัฐบาล CLV ได้ให้คำมั่นสัญญาต่อกันที่จะร่วมมือส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
เพื่อจะเปลี่ยนสามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนาจากพื้นที่ชายขอบให้เป็นศูนย์กลางของความเจริญเติบโตและความมั่งคั่งของประเทศ
CLV ทั้งสาม
ไทยกับโอกาสสร้างสัมพันธ์กับ
CLV
การรวมกลุ่มสามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนา CLV ย่อมเป็นที่ทราบเจตนารมณ์อยู่แล้วว่า
ต้องการรวมตัวเฉพาะ 3 ประเทศเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยและคนไทยควรสร้างความตระหนักรู้อย่างเท่าทันว่า CLV พยายามรวมกันทางเศรษฐกิจเพื่อพึ่งพากันเองในเบื้องต้น
และไม่ควรวิตกจนเกินไปว่าไทยจะถูกโดดเดี่ยวจาก CLV หรือการรวมตัวของ
CLV จะพัฒนาไปสู่ด้านการทหาร
เพราะยังมีกรอบของอาเซียนเป็นตัวบังคับอยู่ว่าในปี 2558
อาเซียนจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งไทยและ CLV ก็ล้วนแต่เป็นสมาชิกอาเซียนด้วยกันทั้งนั้นจึงไม่มีการแบ่งแยกและคุกคามความมั่นคงประชาคมอาเซียน
แต่ในที่นี้ผู้เขียนขอเสนอให้ไทยคิดทบทวนความสัมพันธ์ที่มีอยู่กับ
CLV และหาวิธีการใหม่เข้าไปสร้างสัมพันธ์กับ CLV
โดยเฉพาะในพื้นที่สามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนา ดังนี้
ประการที่ 1
ทบทวนการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน จากที่เคยปฏิบัติมากับ CLV
คือ
ส่งสินค้าไปที่กรุงเวียงจันทน์และกรุงพนมเปญ และส่งผ่านไปยังนครโฮจิมินห์ ให้เปลี่ยนเป็นขยายการค้าชายแดนมุ่งเข้าไปยังสามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนา CLV โดยใช้เส้นทางถนนที่มีอยู่จากไทยเชื่อมโยงเข้าไปในลาว-กัมพูชา-เวียดนาม อาทิ ขนส่งสินค้าจากไทยออกที่ช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี ออกไปยังแขวง
จำปาสักของลาว ต่อจากนั้นใช้ถนนหมายเลข 13 ไปออกชายแดนลาว-กัมพูชาเชื่อมเข้ากับถนนหมายเลข 7 ของกัมพูชาไปจังหวัดสตึงแตรง กระแจ๊ะ รัตนคีรี และมณฑลคีรี และยังสามารถใช้ถนนหมายเลข 78 เข้าถึงตลาดในโอยาดา จังหวัดมณฑลคีรี ซึ่งจากโอยาดาสามารถขนส่งสินค้าผ่านแดนไปเวียดนามในจังหวัดยาลายได้ ไม่เพียงเท่านี้สามารถใช้ถนนหมายเลข 18B ในแขวงอัตตะปือขนส่งสินค้าไปยังเวียดนามได้อีกด้วย
ส่งสินค้าไปที่กรุงเวียงจันทน์และกรุงพนมเปญ และส่งผ่านไปยังนครโฮจิมินห์ ให้เปลี่ยนเป็นขยายการค้าชายแดนมุ่งเข้าไปยังสามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนา CLV โดยใช้เส้นทางถนนที่มีอยู่จากไทยเชื่อมโยงเข้าไปในลาว-กัมพูชา-เวียดนาม อาทิ ขนส่งสินค้าจากไทยออกที่ช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี ออกไปยังแขวง
จำปาสักของลาว ต่อจากนั้นใช้ถนนหมายเลข 13 ไปออกชายแดนลาว-กัมพูชาเชื่อมเข้ากับถนนหมายเลข 7 ของกัมพูชาไปจังหวัดสตึงแตรง กระแจ๊ะ รัตนคีรี และมณฑลคีรี และยังสามารถใช้ถนนหมายเลข 78 เข้าถึงตลาดในโอยาดา จังหวัดมณฑลคีรี ซึ่งจากโอยาดาสามารถขนส่งสินค้าผ่านแดนไปเวียดนามในจังหวัดยาลายได้ ไม่เพียงเท่านี้สามารถใช้ถนนหมายเลข 18B ในแขวงอัตตะปือขนส่งสินค้าไปยังเวียดนามได้อีกด้วย
ประการที่ 2
ในพื้นที่สามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนา CLV ส่วนใหญ่ประชาชนยังประกอบอาชีพเกษตรกรรม
และยังมีพื้นที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อีกมากที่รอการพัฒนาโดยเฉพาะการลงทุนด้านการเกษตร
ดังนั้น กลุ่ม CLV จึงต้องการเรียนรู้เทคโนโลยีการเกษตรอีกมากเพื่อนำไปพัฒนา
เรื่องนี้ไทยมีศักยภาพด้านเทคโนโลยีการเกษตรอยู่เหนือกว่า CLV ผู้เขียนจึงขอเสนอให้ไทยใช้ช่องทางนี้ในการสร้างสัมพันธ์กับ CLV โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าไปลงทุนการเกษตรใน CLV เพื่อจะได้นำเทคโนโลยีการเกษตรไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกรใน CLV ด้วยหวังจะได้เพิ่มพูนผลผลิตให้มากขึ้น
หรือไทยให้ความช่วยเหลือเทคโนโลยีการเกษตรในระดับรัฐต่อรัฐแก่ CLV สำหรับเชื่อมความสัมพันธ์
ความลงท้าย
บทความนี้อาจจะเป็นบทเรียนให้แก่ประเทศไทยและคนไทยไม่มากก็น้อยได้ตระหนักว่า
ไทยไม่ควรตั้งอยู่ในความประมาท อย่าคิดว่าไทยมีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่เหนือกว่า CLV
จนเป็นแหล่งงานที่ผู้คนจาก CLV พากันอพยพเข้ามาหางานทำ
แท้จริงแล้วไทยต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติจาก CLV อยู่อีกมาก
และต้องการตลาดระบายสินค้าไทยใน CLV ซึ่งเป็นการพึ่งพาอาศัยกัน
AEC เปิดเสรี 5 ด้าน ไทยได้เปรียบเสียเปรียบอะไรบ้าง
AEC หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่ประเทศในอาเซียน 10 ประเทศ จะกลายเป็นตลาดเดียวกัน (single market) เป็นเขตการค้าเสรีที่ภาษีเป็น 0% ในปี 2558 จะมีข้อตกลงร่วมกันว่าจะทำให้มีการเคลื่อนย้ายเสรี (free flow) 5 สาขา คือ
1. สินค้า
2. บริการ
3. การลงทุน
4. เงินทุน
5. แรงงานฝีมือ
1. สินค้า
2. บริการ
3. การลงทุน
4. เงินทุน
5. แรงงานฝีมือ
วิเคราะห์ผลกระทบและความได้เปรียบเสียเปรียบของไทยใน 5 ด้านที่กล่าวมานี้ ก็จะพบว่า สินค้าส่งออกที่ไทยได้เปรียบ คือ ข้าวโพด ยาง เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และรถยนต์ แต่ในบางรายการอาจจะเสียเปรียบ เช่นสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม อาทิ มันสำปะหลัง สิ่งทอ เม็ดพลาสติก เป็นต้น ในกรณีที่เปรียบเทียบกับตลาดอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
การเปิดเสรีด้านบริการ ต้องยอมรับว่า สิงคโปร์น่าจะได้อานิสงส์มากที่สุดในอาเซียน โดยเฉพาะด้านไอซีที และไฟแนนเชียล ส่วนไทยจะโดดเด่นในด้าน การท่องเที่ยว สุขภาพ และความงาม
การเปิดเสรีด้านการลงทุน เป็นที่ทราบแล้วว่า ต่อไปนี้ ไทยจะไม่ใช่ฐานการผลิตที่น่าสนใจอีกต่อไป เนื่องมาจากนโยบายกีดกันลดความเชื่อมั่นของนักลงทุนทางอ้อม ประเทศเพื่อนบ้านซ้ายขวาของไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์และแรงงานราคาถูกเป็นตัวดึงดูดใจนักลงทุนต่างชาติมากกว่าของไทย แต่เหนือสิ่งอื่นใดนักลงทุนให้น้ำหนักเป็นอย่างมากกับปัจจัยด้านเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายได้อย่างถ้วนหน้า ไม่ว่าคุณจะเกี่ยวข้องมากน้อยแค่ไหนก็ตาม
การเปิดเสรีด้านเงินทุน ตลาดทุนในอาเซียนมีทิศทางการเคลื่อนไหวตามสภาวะการณ์ที่ผันผวนจากผล กระทบในระดับโลก กลุ่มทุนใหญ่ ๆ แค่ไม่กี่กลุ่ม และกองทุนจากต่างชาติ เป็นแรงกระเพื่อมสำคัญในการโยกย้ายเงินทุนตลาดทุนเกิดใหม่ในกลุ่ม CLV ต้องใช้ระยะเวลาตั้งไข่สักพัก ส่วนของไทยต้องดูว่ารัฐบาลในอีก 4 ปีข้างหน้ามีเสถียรภาพมากน้อยแค่ไหน เชื่อใจได้หรือเปล่า อุตสาหกรรมอะไรที่จะไป พรรคการเมืองไหนจะมา ?
การเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ อนาคต แรงงานระดับล่างจะไหลเข้าสู่ไทย เพื่อมารับค่าแรงขั้นต่ำแพง ๆ ส่วนแรงงานหัวกะทิจะสมองไหลไปสู่สิงคโปร์ และมาเลเซีย เพื่อกินเงินเดือนแพง ๆ เช่นกัน โดยเฉพาะแพทย์ วิศวกร และอาจจะมี ไอที กับ การเงิน ตามไปด้วย การอพยพแรงงานจะทำให้เกิดการผสมกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรม และ ปัญหาสังคมตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรรมสิทธิ์ในการครอบครองที่ดินอาจมีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนตามไปด้วย
สิ่งที่น่าเป็นห่วงในการเคลื่อนย้ายเสรี ก็คือ วงการค้ายาเสพติด และค้ามนุษย์ มันจะลื่นไหลไปด้วยหรือเปล่า และการสวมสิทธิ์จากคนต่างชาตินอกอาเซียนที่แปลงสัญชาติเข้ามารับประโยชน์จากการเปิดเสรีในครั้งนี้ ทำให้มีความกังวลว่าต่อไปอู่ข้าวอู่น้ำบนแผ่นดินแหลมทองยังจะเป็นของคนไทยเราอยู่หรือเปล่า เพราะทำเลทองของอาเซียนที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ดีที่สุดก็คือประเทศไทยนั่นเอง ขวานทองของไทยจะเป็นอาวุธที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในระดับโลก หรือเป็นเหยื่ออันโอชะที่เพื่อนบ้านจะมาจัดปาร์ตี้รุมกินโต๊ะ ก็ขึ้นอยู่กับว่าเมืองไทยมีความพร้อมแค่ไหนในการรับมือกับการเปิดเสรีภายใต้กรอบ AEC ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่ปี
สิ่งที่น่าเป็นห่วงในการเคลื่อนย้ายเสรี ก็คือ วงการค้ายาเสพติด และค้ามนุษย์ มันจะลื่นไหลไปด้วยหรือเปล่า และการสวมสิทธิ์จากคนต่างชาตินอกอาเซียนที่แปลงสัญชาติเข้ามารับประโยชน์จากการเปิดเสรีในครั้งนี้ ทำให้มีความกังวลว่าต่อไปอู่ข้าวอู่น้ำบนแผ่นดินแหลมทองยังจะเป็นของคนไทยเราอยู่หรือเปล่า เพราะทำเลทองของอาเซียนที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ดีที่สุดก็คือประเทศไทยนั่นเอง ขวานทองของไทยจะเป็นอาวุธที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในระดับโลก หรือเป็นเหยื่ออันโอชะที่เพื่อนบ้านจะมาจัดปาร์ตี้รุมกินโต๊ะ ก็ขึ้นอยู่กับว่าเมืองไทยมีความพร้อมแค่ไหนในการรับมือกับการเปิดเสรีภายใต้กรอบ AEC ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่ปี
สรุปอุตสาหกรรมที่ได้เปรียบเสียเปรียบเมื่อเปิด AEC
สรุปอุตสาหกรรมที่ได้เปรียบ เสียเปรีบเมื่อเปิด AEC
Posted in: ความได้เปรียบเสียเปรียบไทยในAEC, บทความ AEC สำคัญที่ควรอ่าน 16 กันยายน 2555
นายอิทธิชัย ยศศรี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้ศึกษาความได้เปรียบทางการค้าของสินค้าอุตสาหกรรมของ ไทยภายหลังการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือAEC ปี 2558 เทียบกับสินค้าอุตสาหกรรมอาเซียนกับ 4 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ พบว่าไทยมี 36 กลุ่มอุตสาหกรรมจัดอยู่ในประเภทป่วยที่ต้องได้รับการรักษาและเมื่อเทียบกับ 4 ประเทศพบอินโดนีเซียมี 61 กลุ่ม ฟิลิปปินส์มี 43 กลุ่ม สิงคโปร์มี 42 กลุ่ม และมาเลเซียมี 17 กลุ่ม
ทั้งนี้ 36 กลุ่มอุตสาหกรรมของไทยที่จัดอยู่ในประเภทป่วยแยกเป็น 3 กลุ่มได้แก่
กลุ่มที่ 1 พบความผิดปกติหรือจัดในเกณฑ์ที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขันลดลงกับประเทศในอาเซียนซึ่งประกอบด้วย 13 กลุ่มอุตสาหกรรมเช่น เคมีภัณฑ์อินทรีย์ ผลิตภัณฑ์จากยางพารา กระดาษและกระดาษแข็ง ผลิตภัณฑ์เซรามิก เครื่องจักร/เครื่องกล/ลอยเลอร์ อากาศยาน/ยานอวกาศ อาวุธและกระสุน เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่อยู่ในอาการกำเริบ หรือมีความสูญเสียความได้เปรียบทางการแข่งขันมีทั้งสิ้น 9 กลุ่มอุตสาหกรรมเช่น เหล็กและเหล็กกล้า เฟอร์นิเจอร์ หนังเฟอร์/เฟอร์เทียม เยื่อไม้หรือเยื่อที่ได้จากเส้นใยเซลลูโลสอื่นๆ ขนแกะ/ผ้าทอ เส้นใยสิ่งทอจากพืช/ด้ายกระดาษ ร่ม/ร่มปักกันแดด เป็นต้น
กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ป่วยหนัก หรือจัดอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเสียเปรียบมากขึ้น มีทั้งสิ้น 14 กลุ่มอุตสาหกรรม เช่น เชื้อเพลิงจากแร่/น้ำมันแร่ ผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม ปุ๋ย เครื่องหนัง เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ไข่มุกธรรมชาติ/รัตนชาติ ทองแดงและของทำด้วยทองแดง นิกเกิลและของที่ทาด้วยนิกเกิล รองเท้า สนับแข้งและของที่คล้ายกัน เครื่องดนตรี เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมไทยที่มีความได้เปรียบมากขึ้นมีทั้งสิ้น 16 กลุ่มเช่น ยานยนต์และส่วนประกอบ พลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก หนังดิบและหนังฟอก เรือและสิ่งก่อสร้างลอยน้ำ แก้วและเครื่องแก้ว ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเหล็กและเหล็กกล้า พรมและสิ่งทอปูพื้นต่างๆ เส้นใยสั้นประดิษฐ์ ฝูาย เป็นต้น ซึ่งเมื่อเทียบกับ 4 ประเทศจะพบว่าไทยมีจำนวนกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้เปรียบมากขึ้นเป็นอันดับ 2 รองจากมาเลเซียที่มี 17 กลุ่ม ส่วน สิงคโปร์มี 13 กลุ่ม อินโดนีเซียมี 6 กลุ่ม และฟิลิปปินส์มี 5
ขณะที่อุตสาหกรรมซึ่งเมื่อเข้าสู่AECแล้วจะได้รับความได้ เปรียบ 3 กลุ่มอุตสาหกรรมได้แก่ เสื้อผ้าและของที่ใช้แล้วทำด้วยสิ่งทอ สังกะสีและของทำด้วยสังกะสี หัวรถจักรของรถไฟหรือรถราง ส่วนอุตสาหกรรมที่จะมีความเสียเปรียบลดลงมี 16 กลุ่มอุตสาหกรรม เช่น หนังสือ/อุตสาหกรรมการพิมพ์ เครื่อง จักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้า ไม้ก๊อกและของทำด้วยไม้ก๊อก ตะกั่วและของที่ทาด้วยตะกั่ว โลหะสามัญ สินแร่ ไหม ของเล่นและอุปกรณ์การกีฬา ศิลปกรรม ผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด เป็นต้น
ที่มา : ข่าวสด
อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/531#ixzz2h9TGxNOB
การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร มะนาว
การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร
|
การนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปจะช่วยป้องกันการล้นตลาดของผลิตผลสด ซึ่งช่วยยกระดับราคาผลิตผลไม่ให้ตกต่ำ การเพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นอาหารระดับอุตสาหกรรม ที่สามารถรับวัตถุดิบเพื่อผลิตเป็นอาหารจำนวนมากได้ การผลิตอาหารให้ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค การส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารให้เป็นที่ยอมรับ และสามารถขยายตลาดการค้าออกไปสู่ต่างประเทศ จะช่วยเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ประเทศได้เป็นอย่างดี
เทคนิคในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรมีหลายขั้นตอน แต่ที่สำคัญและจะเป็นแรงจูงใจสามารถทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า คุ้มราคา และผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องมีความอร่อย ความสะอาด แบบคงเส้นคงวาหรือเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ใช่ทำครั้งแรกอร่อยทุกคนติดใจในรสชาติ สามารถทำรายได้ให้มากมาย พอเริ่มมีคนรู้จัก คุ้นตาชินต่อรสชาติ ก็จะเริ่มทำผลิตภัณฑ์เพื่อให้มีผลกำไรมากๆ ความสำคัญของรสชาติอาจด้อยไป สิ่งเหล่านี้จะทำให้ทุกคนเสื่อมความศรัทธาได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึง
การแปรรูปอาหารโดยการทำให้แห้ง คือ การลดความชื้นของอาหารจนถึงระดับที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ได้ คือ มีค่าวอเตอร์แอกติวิตี้ (water activity : Aw) ต่ำกว่า 0.70 ทำให้เก็บอาหารได้นานอาหารแห้งแต่ละชนิดจะมีความชื้นในระดับที่ปลอดภัยไม่เท่ากัน เช่น ผลไม้แช่อิ่มเก็บที่ความชื้น ร้อยละ 15-20 ถ้าเป็นเมล็ดธัญชาติความชื้นระดับนี้จะเกิดรา
การทำแห้งอาหารโดยทั่วไปจะอาศัยความร้อนส่งผ่านเข้าไปให้น้ำในอาหาร เพื่อทำให้น้ำในอาหารเคลื่อนที่และระเหยออกจากผิวอาหาร และประสิทธิภาพในการเคลื่อนของน้ำมาที่ผิวอาหาร ธรรมชาติของอาหาร ถ้าเป็นผักก็จะแห้งเร็วกว่าผลไม้ เพราะผลไม้มีน้ำตาลเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย
การทำให้แห้งโดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ ในสมัยโบราณมักจะตากแดด ซึ่งไม่สามารถควบคุมความร้อนและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ จึงมีการสร้างตู้อบโดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ ประกอบด้วยแผงรับแสงอาทิตย์ซึ่งทำด้วยวัสดุใส แสงอาทิตย์ตกลงบนแผงรับแล้วทะลุผ่านไปยังวัสดุสีดำภายในตู้ และเปลี่ยนเป็นรังสีความร้อนไปกระทบอาหาร ความชื้นระเหยออกจากอาหารจะระบายไปโดยการหมุนเวียนของอากาศทางช่องลม นอกจากนี้ยังมีกระบวนการทำให้แห้งได้อีกหลายวิธี คือ
วัตถุประสงค์ของการใช้วัตถุเจือปนอาหาร
ชนิดของสารเจือปนที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้
กรด การใช้กรดในผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ เพื่อช่วยปรับปรุงกลิ่น รส และสีของผลิตภัณฑ์ให้ได้ขึ้น ป้องกันปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาล และยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ทำให้เก็บผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น นอกจากนี้กรดยังช่วยลดอุณหภูมิที่ต้องใช้ในการแปรรูปของผลิตภัณฑ์ประเภทผักและผลไม้ การเลือกใช้กรดจะขึ้นอยู่กับชนิดของกรดที่มีอยู่มากในผลไม้/ผักนั้น ผลไม้ทั่วไปส่วนมากจะมีกรดซิตริก (กรดมะนาว) องุ่นมีกรดทาร์ทาริก (หรือเรียกว่า กรดมะขาม) เป็นต้น
สารที่ให้คงรูป (แคลเซียมคลอไรด์) สารคงรูป เพื่อปรับปรุงคุณภาพทางด้านเนื้อสัมผัสของผัก และผลไม้ให้ดีขึ้น สารคงรูปที่รู้จักกันตั้งแต่สมัยโบราณ คือ ปูนขาว ปูนแดง และสารส้ม แต่เนื่องจากสารเหล่านี้ มักมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่มีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันในอุตสาหกรรมการแปรรูปผักและผลไม้จึงใช้แคลเซียมคลอไรด์
สารที่ใช้เพื่อป้องกันการเกิดสีน้ำตาล ส่วนมากใช้วัตถุเจือปนอาหารเพื่อป้องกันปฏิกิริยาดังกล่าว ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และสารประกอบซัลไฟด์
วัตถุกันเสีย เป็นสารประกอบเคมีที่ช่วยในการถนอมหรือยืดอายุการเก็บอาหาร หรือช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นสาเหตุในการเสียของผลิตภัณฑ์ประเภทผักและผลไม้
สารเจือปนที่ใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพผักและผลไม้อบแห้ง
เมื่อได้ทราบถึงหลักการเบื้องต้นของการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรมาแล้ว เรายังมีเรื่องของการนำมะนาวมาแปรรูปในแบบต่างๆ ที่สามารถทำให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก อีกทั้งสามารถนำมาประกอบเป็นกิจการในลักษณะอุตสาหกรรมในครอบครัวได้อีกด้วย
การแปรรูปมะนาวสู่ระดับอุตสาหกรรม
วิธีการที่จะทำการแปรรูปนั้นทำได้หลายวิธี ส่วนมากจะใช้เกลือ และน้ำตาล เป็นส่วนปรุงแต่ง และกรรมวิธีก็ไม่ยุ่งยากมากนักสามารถถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีอย่างง่ายให้แก่เกษตรกรได้อย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถร่วมกับผู้วิจัยที่ใช้แต่น้ำ โดยนำเปลือกมาแปรรูปได้หลายอย่าง เช่น เปลือกมะนาวปรุงรสสามรส มะนาวแช่อิ่ม และร่วมวิจัยกับผู้ใช้เปลือกมะนาวเพื่อสกัดกลิ่นและน้ำมัน สามารถนำเอาผลมะนาวที่เอาเปลือกออกแล้วมาดองเค็มและทำหวานและเอาที่เป็นน้ำมาทำเป็นน้ำมะนาวพร้อมดื่ม และนำมะนาวผลมาดองเค็ม 3-4 เดือน แล้วนำไปทำแช่อิ่มสด แช่อิ่มแบบอบแห้ง มะนาวหยี ทอฟฟี่มะนาว มะนาวบด ละเอียดปรุงรสทำเป็นน้ำจิ้ม และทำซอสพริกมะนาวดอง มะนาวผงพร้อมดื่ม การแปรรูปมะนาวนั้นยังไม่แพร่หลายมากนัก เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์ของผลมะนาวมากขึ้น จึงได้ทดลองทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อแนะนำสู่ประชาชนในพื้นที่ที่มีมะนาวมาก และนำไปผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าแก่วัตถุดิบ และยังส่งเสริมให้เกษตรกรมีงานทำและเพิ่มรายได้ มะนาวปลูกได้ง่ายในดินแทบทุกชนิดทั้งในที่ลุ่มและที่ดอน มะนาวที่นิยมปลูกในประเทศไทยมี 4 พันธุ์ คือ
วิธีที่จะเก็บให้ได้ผลคุ้มจริงๆ ถึงแม้จะเก็บไว้ในตู้เย็น อุณหภูมิประมาณ 15 องศาเซลเซียส ซึ่งก็เก็บได้ไม่เกิน 1 เดือน เช่นกัน การเก็บมะนาวสดที่ความชื้นสัมพัทธ์ ร้อยละ 85 ถึงร้อยละ 90 อุณหภูมิ 10-12 องศาเซลเซียส จะเก็บมะนาวไว้ได้ในระยะเวลาประมาณ 4 เดือน หรือน้อยกว่า เนื่องจากมีการเน่าเสียจากเชื้อรา ในการเก็บควรจะหาทางลดปริมาณเชื้อราพวกนี้ โดยจุ่มในน้ำยา หรือรมยาพ่นยาฆ่าเชื้อราบนผิวมะนาวเสียก่อน และอายุการเก็บเกี่ยวก็สำคัญมาก มะนาวที่แก่จัดเกินไปเวลาเก็บก็จะทำให้เน่าเสียเร็ว ถ้าอ่อนเกินไปน้ำมะนาวจะมีรสขมและมีน้ำน้อย จึงจำเป็นต้องใช้มะนาวที่มีความแก่อ่อนกำลังดี สีเขียวจัดไม่มีโรคแมลงเจาะเน่า หรือช้ำมะนาวก็เช่นเดียวกับ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายต้องการออกซิเจนในการหายใจ และคายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ในบรรยากาศที่ไม่มีการควบคุมมะนาวจะหายใจในอัตราสูง ทำให้เน่าเสียเร็ว เวลาเก็บจึงต้องปรับสภาวะทำให้มะนาวหายใจช้าๆ สม่ำเสมอมะนาวจึงสดอยู่ได้นาน
ยาฆ่าเชื้อรา ( Fungicide ) ที่ใช้และปริมาณที่ใช้มีดังนี้
ในระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน เป็นฤดูที่มีมะนาวมากล้นตลาด ราคาตกต่ำเหมาะที่แม่บ้าน จะทำเป็นผลิตภัณฑ์ถนอมไว้รับประทานในครัวเรือนหรือทำเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือทำเป็นอุตสาหกรรมภายในครอบครัวเป็นการเพิ่มรายได้ เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจของครอบครัว หรือจะคิดค้นหาวิธีเก็บถนอมมะนาวสดเก็บไว้รับประทานได้ในฤดูกาลที่ขาดแคลนและแพง เช่น การทำผลิตภัณฑ์มะนาวต่างๆ ดังนี้
การแปรรูปมะนาวสดแช่แข็ง
คนไทยตั้งเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับคุณภาพน้ำมะนาวไว้สูงมาก คือ น้ำมะนาวคั้นจากผลสด ไม่มีรสขม ไม่เปลี่ยนรส ข้อสำคัญต้องมีกลิ่นหอมของมะนาวสด จึงจะนำไปปรุงรสอาหารประเภทอาหารยำ ต้มยำ ส้มตำ น้ำพริกมะนาว น้ำพริกกะปิ และ อาหารไทยอื่นๆ
น้ำมะนาวสดจะเปลี่ยนรสชาติทันทีถ้ากระทบกับความร้อน กลายเป็นน้ำมะนาวต้มและมีรสขม น้ำมะนาวจะตกตะกอนแยกชั้น จึงไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ร้านอาหารก็ไม่อาจใช้มะนาวที่มีคุณภาพเปลี่ยนไปปรุงอาหารได้ น้ำมะนาวที่เก็บค้างไว้นานเกิน 6 ชั่วโมง โดยไม่เก็บรักษาในสภาพเย็น น้ำมะนาวสดทีคั้นจะเสื่อมคุณภาพ มีรสชาติเปลี่ยนไป มีรสขมและกลิ่นคล้ายของดอง สาเหตุเกิดจากการทำงานของเอนไซต์และการสัมผัสอากาศ ดังนั้นการเก็บรักษาน้ำมะนาวสดให้คงคุณภาพเดิมจะเปลี่ยนไปน้อยที่สุด นั่นคือ การเก็บถนอมโดยการแช่แข็งน้ำมะนาวสดที่อุณหภูมิ – 30 องศาเซลเซียส (อย่างต่ำ – 20 องศาเซลเซียส) เพื่อเปลี่ยนสภาพน้ำมะนาวสดในรูปของเหลว กลายสภาพเป็นของแข็ง (น้ำแข็ง) น้ำมะนาวแช่แข็ง จะเก็บรักษาได้นานเกิน 6 เดือน โดยคุณภาพใกล้เคียงของสดมากที่สุด
ได้ทดลองคืนสภาพน้ำมะนาวกลับไปกลับมาในรูปของเหลวและของแข็ง คุณภาพมะนาวยังคงเดิม ดังนั้นวิธีนี้จึงเหมาะสมที่ร้านอาหารและภัตตาคารจะนำไปใช้เก็บน้ำมะนาวที่มากในฤดูฝน และคืนสภาพเป็นน้ำมะนาวไว้ใช้ในฤดูร้อน ค่าใช้จ่ายต่อน้ำมะนาวแช่แข็งจะตกไม่เกิน 1 บาทต่อกิโลกรัม น้ำมะนาวต่อเดือน
ทุกคนจะคิดในทางเดียวกันว่าการใช้วิธีแช่แข็งเก็บน้ำมะนาวสด จะมีต้นทุนแพงมากขอตอบว่าคุ้มมาก ไม่แพงอย่างที่คิดเพราะน้ำมะนาว 1 กิโลกรัม จะได้จากผลมะนาวสดขนาดกลาง จำนวน 60 ผล หรือเฉลี่ย 1.6 สตางค์ ต่อผล ต่อเดือน หรือ 9.6 สตางค์ต่อผลต่อ 6 เดือน หากพิจารณาความสะดวกในการใช้น้ำมะนาวก็เกินคุ้ม
การแปรรูปน้ำมะนาวแช่แข็งมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
การเก็บรักษามะนาวในระดับการค้า
ตามขั้นตอนที่ 1,2,5,7 และ 8 เก็บรักษาได้ 6-8 สัปดาห์
ตามขั้นตอนที่ 1,2,3,4,5 หรือ 6,7 และ 8 เก็บรักษาได้ 8-10 สัปดาห์
ตามขั้นตอนที่ 1,2,3,4,8 และ 9 เก็บรักษาได้ 10-12 สัปดาห์
ถ้าเพิ่มขึ้นขั้นตอนที่ 10 น่าจะเพิ่มอายุการเก็บรักษาได้อีก 2 สัปดาห์
ที่มา : หนังสืออุตสาหกรรมสาร ปีที่ 46 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนกันยายน - ตุลาคม 2546 หน้าที่ 22-31
|
ราคาพิเศษเพียง 136 บาท จากเดิม 290 บาท สั่งซื้อจาก Lazada ซิ เป็น Collagen ที่ขายดีที่สุดใน Lazada นำเข้าจาก ญี่ปุ่น ของแท้ รับรองคุณภาพ ซื้อเกิน 999 บาท จัดส่ง ฟรี พร้อมบริการเก็บเงินปลายทาง...เพื่อผิวที่กระจ่างใส ทำไมต้องรอ คลิ๊กเลย !!!
วิธีทาน: ทานวันละ 2 แคปซูล ก่อนนอน เป็นประจำทุกวัน
เลขที่จดแจ้ง : 27-2-00658-5-0025 1 กระปุก บรรจุ 60 เม็ด
นักลงทุนไทยให้ความสนใจงาน Roadshow การลงทุนของกัมพูชาอย่างคับคั่ง
ข่าวเศรษฐกิจ RYT9 -- ศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2549 13:37:03 น.
นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 ที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายเกริกไกร จีระแพทย์) เป็นประธานเปิดงาน Roadshow การลงทุนของกัมพูชา ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของกัมพูชา (นายจอม ประสิทธิ์) เป็นผู้นำคณะนักธุรกิจจำนวน 40 คน มานำเสนอสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน โดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจพิเศษปอยเปตและสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนไทย โดยรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาได้ย้ำว่า กัมพูชามีชายแดนติดกับไทย การตั้งโรงงานในกัมพูชาก็เหมือนกับตั้งโรงงานในไทยและสามารถขนส่งมายังแหลมฉบังและกรุงเทพฯ ได้ในระยะทางที่ไม่ต่างกัน แต่ลงทุนในกัมพูชาจะได้เปรียบในด้านต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะค่าแรง วัตถุดิบ ค่าเช่าที่ดิน และสิทธิ GSP ทั้งนี้ยังได้มีการหารือระหว่างรัฐมนตรีจอม ประสิทธิ์กับคณะผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสภาธุรกิจ ACMECs
นายวินิจฉัย กล่าวต่อว่า สาขาการผลิตที่ภาคเอกชนไทยแสดงความสนใจเข้าไปลงทุนในกัมพูชา ได้แก่ การเกษตรและเกษตรแปรรูป เช่น การทำ contact farming อ้อย มันสำปะหลัง และพืชสบู่ดำ เพื่อการผลิต ethanol การแปรรูปผลไม้และน้ำผลไม้ การขุดเจาะแร่ การผลิตเครื่องดื่ม การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และโรงแรม ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาแจ้งว่า กฎหมายการลงทุนของกัมพูชาให้สิทธิต่างชาติเข้าไปจดทะเบียนประกอบกิจการได้ 100% ให้สิทธิการเช่าที่ดินเพื่อประกอบธุรกิจนานถึง 99 ปี ทั้งนี้ต้องการเห็นบริษัทไทยเข้าไปลงทุนแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อส่งออกไปประเทศที่สาม ซึ่งจะสามารถใช้สิทธิ GSP ส่งออกสินค้าไปประเทศพัฒนาโดยไม่เสียภาษี และคาดว่าประมาณปี 2008 โครงการขุดเจาะน้ำมันและแก๊สธรรมชาติจะสำเร็จ กัมพูชาก็จะมีแหล่งพลังงานในประเทศเพื่อป้อนแก่อุตสาหกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้น
สำหรับประเด็นที่ภาคเอกชนไทยเห็นว่ายังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการค้า การลงทุนของไทย คือ การปลอมแปลงลอกเลียนแบบตราบรรจุภัณฑ์สินค้า โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และสุขอนามัยของประชาชน ยินดีให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่และขอให้เจ้าของสินค้าที่พบว่ามีการปลอมแปลงแจ้งให้ทราบ จะให้มีการตรวจจับตั้งแต่ด่านตรวจสินค้านำเข้า
ในด้านสาขาการผลิตที่ต้องการเชิญชวนนักลงทุนไทยย้ายฐานเข้าไปในกัมพูชา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ โดยย้ำว่านโยบายส่งเสริมการลงทุนในระยะต่อไปจะให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากนี้กัมพูชา ยังสนับสนุนให้มีการเปิดด่านถาวร ณ จุดผ่านแดนต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักธุรกิจและนักท่องเที่ยว เพราะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดปัญหาสังคม การลักลอบผ่านแดนเพื่อหางานทำของทั้งสองประเทศ
นอกจากนี้ ยังได้มีการแบ่งกลุ่มหารือธุรกิจ ระหว่างภาคเอกชน 4 กลุ่ม คือ การค้า การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การขนส่งและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งต่างฝ่ายก็ได้ซักถามในประเด็นที่สนใจเพื่อร่วมค้าขายหรือร่วมทุนในกิจกรรมต่างๆ โดยนักธุรกิจของไทยยังได้หารือเรื่องการขนส่งสินค้าเข้ากัมพูชากับเจ้าหน้าที่ธุรกิจขนส่งของกัมพูชาด้วย
ทั้งนี้ในวันที่ 23 พฤศจิกายน ศกนี้ เอกชนไทยในกลุ่มสาขาธุรกิจ ACMECs เตรียมจัดคณะนักลงทุนไทยเดินทางไปเยี่ยมชมและหารือกับคู่ค้าที่เขตเศรษฐกิจพิเศษปอยเปต รวมทั้งสภาอุตสาหกรรมเตรียมจัดคณะนักธุรกิจที่พร้อมลงทุนเดินทางไปเจรจาธุรกิจกับหอการค้าของกัมพูชาในเร็วๆนี้ ธุรกิจที่มีโอกาส เช่น การขายปุ๋ยแลกกับแร่ การร่วมทุนทำ contact farming และการแปรรูปสินค้าเกษตร
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
เพอร์มาคัลเชอร์กับการดำรงชีวิต
ส่วนที่เห็นได้
องค์ประกอบรวมของชุมชน
TOTAL DESIGN FOR COMMUNITY
TOTAL DESIGN FOR COMMUNITY
สังคมทุกสังคม ไม่ว่าจะเป็นสังคมพืช สัตว์หรือมนุษย์ จะมีระบบโครงสร้างของตนเอง ส่วนของโครงสร้าง จะเป็น ระบบที่มองเห็นได้ เป็นรูปธรรมส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง จะเห็นไม่เป็นรูปธรรม เช่น ระบบการเงิน ระบบการค้า กฎหมาย การศึกษา วัฒนธรรม ความเชื่อและขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่เป็นกติกาสังคม ส่วนที่มองเห็น ได้เป็น รูปธรรม เช่น ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร ตึกราม บ้านช่อง ธัญญาหาร และสัตว์เป็นต้น รวมเรียกว่า บ้านเมือง และ ธรรมชาติ
๑. การเพิ่มค่าผลิตผลทางการเกษตร
การแปรรูป ตรงกับภาษาอังกฤษว่า processing จริงๆ แล้ว processing จะหมายความว่าเพิ่มค่า เมื่อมีการนำ ผลผลิตที่เป็นวัตถุดิบไปผ่านกระบวนการ processing แล้วก็จะได้ผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณค่ามากขึ้น และราคาสูงขึ้นได้ เช่น กาบมะพร้าว ซึ่งเป็นส่วนเหลือ ของมะพร้าว ถ้าใช้ประโยชน์เป็นวัตถุดิบ ก็อาจจะใช้ เป็นเชื้อเพลิง เป็นกาบ ใส่ต้นไม้ แต่ถ้ามีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกาบมะพร้าว เป็นรูปเส้นใย ก็จะสามารถ ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ยืนยาวขึ้น เช่น ทำไส้ที่นอน ทำเชือก ทำแห เส้นป่านจากใยมะพร้าว จะมีความยืดหยุ่น มากกว่าเส้นใยสังเคราะห์
การแปรรูป ตรงกับภาษาอังกฤษว่า processing จริงๆ แล้ว processing จะหมายความว่าเพิ่มค่า เมื่อมีการนำ ผลผลิตที่เป็นวัตถุดิบไปผ่านกระบวนการ processing แล้วก็จะได้ผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณค่ามากขึ้น และราคาสูงขึ้นได้ เช่น กาบมะพร้าว ซึ่งเป็นส่วนเหลือ ของมะพร้าว ถ้าใช้ประโยชน์เป็นวัตถุดิบ ก็อาจจะใช้ เป็นเชื้อเพลิง เป็นกาบ ใส่ต้นไม้ แต่ถ้ามีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกาบมะพร้าว เป็นรูปเส้นใย ก็จะสามารถ ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ยืนยาวขึ้น เช่น ทำไส้ที่นอน ทำเชือก ทำแห เส้นป่านจากใยมะพร้าว จะมีความยืดหยุ่น มากกว่าเส้นใยสังเคราะห์
วัตถุดิบผลิตผล ทางการเกษตร และจากธรรมชาติและจะอยู่ได้ไม่ทน การแปรรูป จะเพิ่มคุณค่า และยืดอายุ การเก็บรักษา และการใช้งานได้ ระบบการแปรรูปไม่ว่าจะด้วยความร้อน ความเย็น ด้วยเทคโนโลยี หรือด้วยระบบ การบรรจุผลิตภัณฑ์ การแปรรูปด้วยวิธีต่างๆ เหล่านี้ จะต้องผ่าน ระบบการตลาด ถึงมือผู้บริโภคทันที ผู้บริโภค จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่เห็นกระบวนการผลิตเลย เช่น ก่อนที่ ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ไม่ว่าจะเป็นตัวไม้ หรือ หน่อไม้ จะผ่านการแปรรูป จะมีผู้บริโภคสักกี่คนที่รู้ว่า สินค้าจาก ไม้ไผ่นั้น ผ่านกระบวนการแปรรูป มากี่ขั้นตอน แต่ถ้าจะใช้ เครื่องมือการแปรรูป ในระบบโรงงาน อุตสาหกรรม ซึ่งใช้เครื่องจักรกล ก็จะเป็นตัวเครื่องจักรและโรงงาน
วิธีแปรรูปในระบบครัวเรือน ไม่มีการเขียนเป็นตำรา ในสมัยนี้จะแสวงหาและต้อง การบริโภคผลิตภัณฑ์ ที่มาจาก การแปรรูปในระบบครัวเรือนได้ยากมาก แม้จะมีผู้ผลิตสักคนหนึ่งที่จะทำแบบนั้น ก็จะไม่มีเครื่องไม้ เครื่องมือ เพียงพอที่จะผลิตเพื่อผู้บริโภคหมู่ใหญ่ได้ ถ้าไม่มีระบบรวมงานเป็นสหกรณ์ ถึงแม้ว่าการแปรรูป เพื่อเพิ่มคุณค่า สินค้า จะไม่ใช่หลักของสภาพการเงิน ของหมู่บ้าน หรือของชุมชนก็ตาม แต่ก็จำเป็นที่จะต้อง หาวิธีการผลิต และ สร้างระบบแรงงาน ที่เหมาะสมขึ้นมาให้ครบกระบวน การผลิต เราก็จะไม่ประสบความยุ่งยาก ในการหาวิธี การแปร รูปสินค้า ผลิตผลของเราด้วย
อย่างไรก็ตาม เราจะพบว่าในทุกหน ทุกแห่งที่มีการแปรรูปสินค้านั้น ชาวบ้านจะมีระบบของตัวเอง มีกลวิธีของตัวเอง มีเครื่องไม้เครื่องมือของตนเอง ซึ่งจะเหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อมของเขา เคยมีคนพยายาม ที่จะนับปริมาณ ผลิตผลที่แปรรูป จากมะพร้าว แต่ยังทำไม่สำเร็จ เพราะมีปริมาณมากมาย แม้แต่ในหมู่บ้าน เดียวกัน แต่ละคน ก็มีเทคนิควิธีการแปรรูป ของอย่างเดียวกัน แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม สินค้าแปรรูปเหล่านั้น จะไม่มีคุณค่า ทางอาหารเพิ่มมากขึ้น และจะไม่มีคุณค่าทางการเงิน สำหรับชาวบ้านมากนัก เพราะยังต้องตก อยู่ภายใต้ อิทธิพล กลไกของระบบตลาด
๒. ความอยู่รอดของมนุษยชาติ
วิกฤติการณ์ทั้งหลายที่เกิดอยู่ในโลก ปัจจุบันนี้ ถ้ามองดูแล้วจะเห็นว่า มีสาเหตุใหญ่มาจาก ความไม่สมดุล ในเรื่องพลังงาน การผลิตการบริโภคมีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากเกินความจำเป็น ในขณะเดียวกัน ก็มีส่วนเหลือตกค้างเป็นมลพิษมาก ในบางประเทศ จะพยายามใช้พลังงานธรรมชาติ เช่น ในประเทศเดนมาร์ก ซึ่งมีระบบของการสร้างพลังงานไฟฟ้า จากพลังลมมากกว่าประเทศอื่นๆ ไฟฟ้าที่ผลิตได้ จากพลังกังหันลม มีมากกว่าพลังงานไฟฟ้า ที่ผลิตจากพลังนิวเคลียร์ ของโรงไฟฟ้า พลังปรมาณูเสียอีก เพราะต้นทุน ในการผลิตไฟฟ้า จากพลังลมถูกกว่า ที่ผลิตจากไฟฟ้า จากโรงไฟฟ้าปรมาณูมาก ทั้งยังกากของเสีย ให้เป็นมลพิษ ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ในรัฐบางรัฐ ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีโรงงานไฟฟ้า พลังปรมาณูมากมาย จึงมีการลงทุน กันมาก ส่งผลต่อ หนี้ประชาชาติ ถึงคนละ ๙๐,๐๐๐ ดอลล่าร์ เพราะฉะนั้น ในจำนวนคน ที่จะถือว่าเป็นหนี้ ประชาชาตินั้น ถ้าแต่ละ ครอบครัวเหล่านี้ รวมตัวกันใช้ ระบบลม และทำระบบเกี่ยวกับ การซื้อขายพลังงาน ไฟฟ้าให้รัฐ ก็จะมีเงิน มากขึ้น และไม่ต้องเป็นหนี้
วิกฤติการณ์ทั้งหลายที่เกิดอยู่ในโลก ปัจจุบันนี้ ถ้ามองดูแล้วจะเห็นว่า มีสาเหตุใหญ่มาจาก ความไม่สมดุล ในเรื่องพลังงาน การผลิตการบริโภคมีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากเกินความจำเป็น ในขณะเดียวกัน ก็มีส่วนเหลือตกค้างเป็นมลพิษมาก ในบางประเทศ จะพยายามใช้พลังงานธรรมชาติ เช่น ในประเทศเดนมาร์ก ซึ่งมีระบบของการสร้างพลังงานไฟฟ้า จากพลังลมมากกว่าประเทศอื่นๆ ไฟฟ้าที่ผลิตได้ จากพลังกังหันลม มีมากกว่าพลังงานไฟฟ้า ที่ผลิตจากพลังนิวเคลียร์ ของโรงไฟฟ้า พลังปรมาณูเสียอีก เพราะต้นทุน ในการผลิตไฟฟ้า จากพลังลมถูกกว่า ที่ผลิตจากไฟฟ้า จากโรงไฟฟ้าปรมาณูมาก ทั้งยังกากของเสีย ให้เป็นมลพิษ ดังนั้น เมื่อเทียบกับ ในรัฐบางรัฐ ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีโรงงานไฟฟ้า พลังปรมาณูมากมาย จึงมีการลงทุน กันมาก ส่งผลต่อ หนี้ประชาชาติ ถึงคนละ ๙๐,๐๐๐ ดอลล่าร์ เพราะฉะนั้น ในจำนวนคน ที่จะถือว่าเป็นหนี้ ประชาชาตินั้น ถ้าแต่ละ ครอบครัวเหล่านี้ รวมตัวกันใช้ ระบบลม และทำระบบเกี่ยวกับ การซื้อขายพลังงาน ไฟฟ้าให้รัฐ ก็จะมีเงิน มากขึ้น และไม่ต้องเป็นหนี้
หลายประเทศเป็นหนี้เป็นสินมากมายจนถึงขั้นล้มละลาย เกิดระบบที่เจ้าหนี้จะยกหนี้สินให้ แต่ก็มิได้เป็นการ แก้ปัญหา ทั้งไม่ช่วยรักษาสภาพความอยู่รอดทั้งของชนบท และของเมืองแต่อย่างไร การรักษาบ้านเมือง ไม่ใช่ หน้าที่ของรัฐบาล จะหวังให้รัฐบาลรับภาระนี้ไม่ได้ แต่เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องร่วมมือกัน ทุกคน ในชุมชน จะต้องร่วมมือกัน และจะต้องให้ความสนใจ ที่จะรักษาความอยู่รอด ของประเทศชาติ
แนวทางที่สำคัญ ที่จะทำให้ทั้งชนบทและเมืองอยู่รอดคือ การสงวนรักษาและฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ระบบการจัดการ ที่กล่าวมานี้ จะมีช่องทางสำหรับการเจริญเติบโต ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาวิจัย ด้านพลังงานเทคโนโลยี ถ้าหากว่า ในชุมชน หรือในกลุ่มของเรา มีธนาคาร มีโรงเรียน มีวัด มหาวิทยาลัย เราจะมีองค์กร ที่สามารถรองรับ การตั้งองค์กร ของเอกชนเพื่อ ที่ทำงานเพื่อประเทศชาติได้ เราอาจจะพิจารณาดู ถ้าหากว่าในชุมชน หรือในองค์กรของเรา มีผู้ที่มี ความรู้ ด้านกฎหมาย ก็จะสามารถเริ่มต้นสร้างองค์กรเฉพาะท้องถิ่นขึ้นได้ องค์กรนี้ จะเป็นองค์กร ที่มีกฎหมาย รองรับ และจัดตั้ง อย่างถูกต้อง ตามกฎหมาย
(เราคิดอะไร ฉบับที่ ๑๔๒ พฤษภาคม ๒๕๔๕)
Solar Roof ขายไฟให้การไฟฟ้า
รูปภาพสำหรับ solar roof
- รายงานรูปภาพsolar roof ขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า มีใครเคยทำมั่งครับ หรืออยากทำ - เกษตรพอเพียง
www.kasetporpeang.com › ... › ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทั่วไป9 มี.ค. 2556 - 16 โพสต์ - 6 ผู้เขียนผมเป็นวิศวกรไฟฟ้ากำลัง เรียนปรญญาโท อยู่ เทคโนพระจอมเกล้าลาดกระบัง เห็น เห็นมีโครงการติด solar cell ขายไฟให้การไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า solar roof ... Building-integrated photovoltaics - Wikipedia, the free encyclopedia
en.wikipedia.org/wiki/Building-integrated_photovoltaics แปลหน้านี้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)