การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร
|
การนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปจะช่วยป้องกันการล้นตลาดของผลิตผลสด ซึ่งช่วยยกระดับราคาผลิตผลไม่ให้ตกต่ำ การเพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นอาหารระดับอุตสาหกรรม ที่สามารถรับวัตถุดิบเพื่อผลิตเป็นอาหารจำนวนมากได้ การผลิตอาหารให้ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค การส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารให้เป็นที่ยอมรับ และสามารถขยายตลาดการค้าออกไปสู่ต่างประเทศ จะช่วยเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ประเทศได้เป็นอย่างดี
เทคนิคในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรมีหลายขั้นตอน แต่ที่สำคัญและจะเป็นแรงจูงใจสามารถทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า คุ้มราคา และผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องมีความอร่อย ความสะอาด แบบคงเส้นคงวาหรือเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ใช่ทำครั้งแรกอร่อยทุกคนติดใจในรสชาติ สามารถทำรายได้ให้มากมาย พอเริ่มมีคนรู้จัก คุ้นตาชินต่อรสชาติ ก็จะเริ่มทำผลิตภัณฑ์เพื่อให้มีผลกำไรมากๆ ความสำคัญของรสชาติอาจด้อยไป สิ่งเหล่านี้จะทำให้ทุกคนเสื่อมความศรัทธาได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึง
การแปรรูปอาหารโดยการทำให้แห้ง คือ การลดความชื้นของอาหารจนถึงระดับที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ได้ คือ มีค่าวอเตอร์แอกติวิตี้ (water activity : Aw) ต่ำกว่า 0.70 ทำให้เก็บอาหารได้นานอาหารแห้งแต่ละชนิดจะมีความชื้นในระดับที่ปลอดภัยไม่เท่ากัน เช่น ผลไม้แช่อิ่มเก็บที่ความชื้น ร้อยละ 15-20 ถ้าเป็นเมล็ดธัญชาติความชื้นระดับนี้จะเกิดรา
การทำแห้งอาหารโดยทั่วไปจะอาศัยความร้อนส่งผ่านเข้าไปให้น้ำในอาหาร เพื่อทำให้น้ำในอาหารเคลื่อนที่และระเหยออกจากผิวอาหาร และประสิทธิภาพในการเคลื่อนของน้ำมาที่ผิวอาหาร ธรรมชาติของอาหาร ถ้าเป็นผักก็จะแห้งเร็วกว่าผลไม้ เพราะผลไม้มีน้ำตาลเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย
การทำให้แห้งโดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ ในสมัยโบราณมักจะตากแดด ซึ่งไม่สามารถควบคุมความร้อนและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ จึงมีการสร้างตู้อบโดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ ประกอบด้วยแผงรับแสงอาทิตย์ซึ่งทำด้วยวัสดุใส แสงอาทิตย์ตกลงบนแผงรับแล้วทะลุผ่านไปยังวัสดุสีดำภายในตู้ และเปลี่ยนเป็นรังสีความร้อนไปกระทบอาหาร ความชื้นระเหยออกจากอาหารจะระบายไปโดยการหมุนเวียนของอากาศทางช่องลม นอกจากนี้ยังมีกระบวนการทำให้แห้งได้อีกหลายวิธี คือ
วัตถุประสงค์ของการใช้วัตถุเจือปนอาหาร
ชนิดของสารเจือปนที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้
กรด การใช้กรดในผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ เพื่อช่วยปรับปรุงกลิ่น รส และสีของผลิตภัณฑ์ให้ได้ขึ้น ป้องกันปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาล และยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ทำให้เก็บผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น นอกจากนี้กรดยังช่วยลดอุณหภูมิที่ต้องใช้ในการแปรรูปของผลิตภัณฑ์ประเภทผักและผลไม้ การเลือกใช้กรดจะขึ้นอยู่กับชนิดของกรดที่มีอยู่มากในผลไม้/ผักนั้น ผลไม้ทั่วไปส่วนมากจะมีกรดซิตริก (กรดมะนาว) องุ่นมีกรดทาร์ทาริก (หรือเรียกว่า กรดมะขาม) เป็นต้น
สารที่ให้คงรูป (แคลเซียมคลอไรด์) สารคงรูป เพื่อปรับปรุงคุณภาพทางด้านเนื้อสัมผัสของผัก และผลไม้ให้ดีขึ้น สารคงรูปที่รู้จักกันตั้งแต่สมัยโบราณ คือ ปูนขาว ปูนแดง และสารส้ม แต่เนื่องจากสารเหล่านี้ มักมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่มีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันในอุตสาหกรรมการแปรรูปผักและผลไม้จึงใช้แคลเซียมคลอไรด์
สารที่ใช้เพื่อป้องกันการเกิดสีน้ำตาล ส่วนมากใช้วัตถุเจือปนอาหารเพื่อป้องกันปฏิกิริยาดังกล่าว ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และสารประกอบซัลไฟด์
วัตถุกันเสีย เป็นสารประกอบเคมีที่ช่วยในการถนอมหรือยืดอายุการเก็บอาหาร หรือช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นสาเหตุในการเสียของผลิตภัณฑ์ประเภทผักและผลไม้
สารเจือปนที่ใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพผักและผลไม้อบแห้ง
เมื่อได้ทราบถึงหลักการเบื้องต้นของการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรมาแล้ว เรายังมีเรื่องของการนำมะนาวมาแปรรูปในแบบต่างๆ ที่สามารถทำให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก อีกทั้งสามารถนำมาประกอบเป็นกิจการในลักษณะอุตสาหกรรมในครอบครัวได้อีกด้วย
การแปรรูปมะนาวสู่ระดับอุตสาหกรรม
วิธีการที่จะทำการแปรรูปนั้นทำได้หลายวิธี ส่วนมากจะใช้เกลือ และน้ำตาล เป็นส่วนปรุงแต่ง และกรรมวิธีก็ไม่ยุ่งยากมากนักสามารถถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีอย่างง่ายให้แก่เกษตรกรได้อย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถร่วมกับผู้วิจัยที่ใช้แต่น้ำ โดยนำเปลือกมาแปรรูปได้หลายอย่าง เช่น เปลือกมะนาวปรุงรสสามรส มะนาวแช่อิ่ม และร่วมวิจัยกับผู้ใช้เปลือกมะนาวเพื่อสกัดกลิ่นและน้ำมัน สามารถนำเอาผลมะนาวที่เอาเปลือกออกแล้วมาดองเค็มและทำหวานและเอาที่เป็นน้ำมาทำเป็นน้ำมะนาวพร้อมดื่ม และนำมะนาวผลมาดองเค็ม 3-4 เดือน แล้วนำไปทำแช่อิ่มสด แช่อิ่มแบบอบแห้ง มะนาวหยี ทอฟฟี่มะนาว มะนาวบด ละเอียดปรุงรสทำเป็นน้ำจิ้ม และทำซอสพริกมะนาวดอง มะนาวผงพร้อมดื่ม การแปรรูปมะนาวนั้นยังไม่แพร่หลายมากนัก เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์ของผลมะนาวมากขึ้น จึงได้ทดลองทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อแนะนำสู่ประชาชนในพื้นที่ที่มีมะนาวมาก และนำไปผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าแก่วัตถุดิบ และยังส่งเสริมให้เกษตรกรมีงานทำและเพิ่มรายได้ มะนาวปลูกได้ง่ายในดินแทบทุกชนิดทั้งในที่ลุ่มและที่ดอน มะนาวที่นิยมปลูกในประเทศไทยมี 4 พันธุ์ คือ
วิธีที่จะเก็บให้ได้ผลคุ้มจริงๆ ถึงแม้จะเก็บไว้ในตู้เย็น อุณหภูมิประมาณ 15 องศาเซลเซียส ซึ่งก็เก็บได้ไม่เกิน 1 เดือน เช่นกัน การเก็บมะนาวสดที่ความชื้นสัมพัทธ์ ร้อยละ 85 ถึงร้อยละ 90 อุณหภูมิ 10-12 องศาเซลเซียส จะเก็บมะนาวไว้ได้ในระยะเวลาประมาณ 4 เดือน หรือน้อยกว่า เนื่องจากมีการเน่าเสียจากเชื้อรา ในการเก็บควรจะหาทางลดปริมาณเชื้อราพวกนี้ โดยจุ่มในน้ำยา หรือรมยาพ่นยาฆ่าเชื้อราบนผิวมะนาวเสียก่อน และอายุการเก็บเกี่ยวก็สำคัญมาก มะนาวที่แก่จัดเกินไปเวลาเก็บก็จะทำให้เน่าเสียเร็ว ถ้าอ่อนเกินไปน้ำมะนาวจะมีรสขมและมีน้ำน้อย จึงจำเป็นต้องใช้มะนาวที่มีความแก่อ่อนกำลังดี สีเขียวจัดไม่มีโรคแมลงเจาะเน่า หรือช้ำมะนาวก็เช่นเดียวกับ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายต้องการออกซิเจนในการหายใจ และคายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ในบรรยากาศที่ไม่มีการควบคุมมะนาวจะหายใจในอัตราสูง ทำให้เน่าเสียเร็ว เวลาเก็บจึงต้องปรับสภาวะทำให้มะนาวหายใจช้าๆ สม่ำเสมอมะนาวจึงสดอยู่ได้นาน
ยาฆ่าเชื้อรา ( Fungicide ) ที่ใช้และปริมาณที่ใช้มีดังนี้
ในระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน เป็นฤดูที่มีมะนาวมากล้นตลาด ราคาตกต่ำเหมาะที่แม่บ้าน จะทำเป็นผลิตภัณฑ์ถนอมไว้รับประทานในครัวเรือนหรือทำเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือทำเป็นอุตสาหกรรมภายในครอบครัวเป็นการเพิ่มรายได้ เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจของครอบครัว หรือจะคิดค้นหาวิธีเก็บถนอมมะนาวสดเก็บไว้รับประทานได้ในฤดูกาลที่ขาดแคลนและแพง เช่น การทำผลิตภัณฑ์มะนาวต่างๆ ดังนี้
การแปรรูปมะนาวสดแช่แข็ง
คนไทยตั้งเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับคุณภาพน้ำมะนาวไว้สูงมาก คือ น้ำมะนาวคั้นจากผลสด ไม่มีรสขม ไม่เปลี่ยนรส ข้อสำคัญต้องมีกลิ่นหอมของมะนาวสด จึงจะนำไปปรุงรสอาหารประเภทอาหารยำ ต้มยำ ส้มตำ น้ำพริกมะนาว น้ำพริกกะปิ และ อาหารไทยอื่นๆ
น้ำมะนาวสดจะเปลี่ยนรสชาติทันทีถ้ากระทบกับความร้อน กลายเป็นน้ำมะนาวต้มและมีรสขม น้ำมะนาวจะตกตะกอนแยกชั้น จึงไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ร้านอาหารก็ไม่อาจใช้มะนาวที่มีคุณภาพเปลี่ยนไปปรุงอาหารได้ น้ำมะนาวที่เก็บค้างไว้นานเกิน 6 ชั่วโมง โดยไม่เก็บรักษาในสภาพเย็น น้ำมะนาวสดทีคั้นจะเสื่อมคุณภาพ มีรสชาติเปลี่ยนไป มีรสขมและกลิ่นคล้ายของดอง สาเหตุเกิดจากการทำงานของเอนไซต์และการสัมผัสอากาศ ดังนั้นการเก็บรักษาน้ำมะนาวสดให้คงคุณภาพเดิมจะเปลี่ยนไปน้อยที่สุด นั่นคือ การเก็บถนอมโดยการแช่แข็งน้ำมะนาวสดที่อุณหภูมิ – 30 องศาเซลเซียส (อย่างต่ำ – 20 องศาเซลเซียส) เพื่อเปลี่ยนสภาพน้ำมะนาวสดในรูปของเหลว กลายสภาพเป็นของแข็ง (น้ำแข็ง) น้ำมะนาวแช่แข็ง จะเก็บรักษาได้นานเกิน 6 เดือน โดยคุณภาพใกล้เคียงของสดมากที่สุด
ได้ทดลองคืนสภาพน้ำมะนาวกลับไปกลับมาในรูปของเหลวและของแข็ง คุณภาพมะนาวยังคงเดิม ดังนั้นวิธีนี้จึงเหมาะสมที่ร้านอาหารและภัตตาคารจะนำไปใช้เก็บน้ำมะนาวที่มากในฤดูฝน และคืนสภาพเป็นน้ำมะนาวไว้ใช้ในฤดูร้อน ค่าใช้จ่ายต่อน้ำมะนาวแช่แข็งจะตกไม่เกิน 1 บาทต่อกิโลกรัม น้ำมะนาวต่อเดือน
ทุกคนจะคิดในทางเดียวกันว่าการใช้วิธีแช่แข็งเก็บน้ำมะนาวสด จะมีต้นทุนแพงมากขอตอบว่าคุ้มมาก ไม่แพงอย่างที่คิดเพราะน้ำมะนาว 1 กิโลกรัม จะได้จากผลมะนาวสดขนาดกลาง จำนวน 60 ผล หรือเฉลี่ย 1.6 สตางค์ ต่อผล ต่อเดือน หรือ 9.6 สตางค์ต่อผลต่อ 6 เดือน หากพิจารณาความสะดวกในการใช้น้ำมะนาวก็เกินคุ้ม
การแปรรูปน้ำมะนาวแช่แข็งมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
การเก็บรักษามะนาวในระดับการค้า
ตามขั้นตอนที่ 1,2,5,7 และ 8 เก็บรักษาได้ 6-8 สัปดาห์
ตามขั้นตอนที่ 1,2,3,4,5 หรือ 6,7 และ 8 เก็บรักษาได้ 8-10 สัปดาห์
ตามขั้นตอนที่ 1,2,3,4,8 และ 9 เก็บรักษาได้ 10-12 สัปดาห์
ถ้าเพิ่มขึ้นขั้นตอนที่ 10 น่าจะเพิ่มอายุการเก็บรักษาได้อีก 2 สัปดาห์
ที่มา : หนังสืออุตสาหกรรมสาร ปีที่ 46 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนกันยายน - ตุลาคม 2546 หน้าที่ 22-31
|
ราคาพิเศษเพียง 136 บาท จากเดิม 290 บาท สั่งซื้อจาก Lazada ซิ เป็น Collagen ที่ขายดีที่สุดใน Lazada นำเข้าจาก ญี่ปุ่น ของแท้ รับรองคุณภาพ ซื้อเกิน 999 บาท จัดส่ง ฟรี พร้อมบริการเก็บเงินปลายทาง...เพื่อผิวที่กระจ่างใส ทำไมต้องรอ คลิ๊กเลย !!!
วิธีทาน: ทานวันละ 2 แคปซูล ก่อนนอน เป็นประจำทุกวัน
เลขที่จดแจ้ง : 27-2-00658-5-0025 1 กระปุก บรรจุ 60 เม็ด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น